Technology

ทุกๆอย่างเริ่มจากเครื่องยนต์

เครื่องยนต์ของเราได้รับความไว้วางใจและมีคุณภาพที่ยอดเยี่ยม อีกทั้งยังเป็น Power ที่ขาดไม่ได้สำหรับผู้คนทั่วโลก
ทั้งในการทำงานแต่ละวันและในยามว่าง
เครื่องยนต์ของเราได้ก้าวข้ามการเป็นเครื่องยนต์ธรรมดาจนกลายเป็นแหล่งพลังงานที่ขับเคลื่อนจิตใจ การดำรงชีวิต และความฝันของผู้คนไปแล้ว

เครื่องยนต์

เครื่องยนต์ทุ่นแรงสำหรับจักรยาน อันเป็นที่เลื่องลือว่าเสียยาก

เครื่องยนต์ทุ่นแรงสำหรับจักรยานเครื่องแรกที่ออกจำหน่ายในปีค.ศ. 1946 เป็นเครื่องยนต์ที่ได้จากการปรับปรุงเครื่องยนต์กำเนิดไฟฟ้าสำหรับเครื่องมือสื่อสารแบบพกพามาใช้งาน โดยแก้ไขปัญหาที่มีอยู่คือการป้องกันไม่ให้เสื้อผ้าเปื้อนน้ำมันได้ อีกทั้ง ก่อนจำหน่าย ได้ถอดชิ้นส่วนทั้งหมดมาล้างทำความสะอาดก่อนที่จะปรับแก้ไข และประกอบเข้าใหม่ แล้วทำการทดสอบซ้ำ ในยุคที่ขาดแคลนสิ่งของหลังช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้คนต้องการเพียงแค่เครื่องยนต์ใช้งานได้ก็ดีพอแล้ว แต่มร.โซอิจิโร ฮอนด้าไม่หยุดหย่อนที่จะใช้เวลาและความพยายามที่จะทำให้เครื่องยนต์นี้ใช้ง่าย และเสียหายน้อยที่สุด

ส่งผลให้ ผู้คนชื่นชมว่า “เครื่องยนต์ฮอนด้าแทบจะไม่เสีย ใช้งานได้ดี” ทำให้ 500 เครื่องที่อยู่ในสต๊อกขายหมด จึงเริ่มลงมือพัฒนาเครื่องยนต์ขึ้นใหม่ เครื่อง “ฮอนด้ารุ่น A” เครื่องแรกที่ออกมาเป็นเครื่องยนต์กระบอกสูบเดี่ยว 2 สูบขนาด 50 cc ระบายความร้อนด้วยอากาศ

เครื่องยนต์รุ่น A ที่เลื่องลือว่าใช้งานง่าย ไม่เสีย

“เครื่องฮอนด้ารุ่น A” ได้รับการออกแบบให้ผลิตขึ้นจากการหล่อไดคาส การหล่อแบบไดคาสมีข้อดีคือช่วยลดจำนวนชิ้นส่วน และกระบวนการผลิต และเจียขึ้นรูปไม่มาก แต่มีข้อเสียคือวิธีผลิตนี้ที่เหมาะกับการผลิตเป็นจำนวนมาก เพราะลงทุนขั้นต้นเป็นเงินมหาศาล บริษัท Honda ที่เพิ่งเริ่มตั้ง ธุรกิจยังมีขนาดเล็ การตัดสินใจเลือกวิธีการผลิตแบบนี้ อาจเรียกว่าได้ว่าบ้าบิ่นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม บริษัทได้ตัดสินใจเลือกการผลิตด้วยการหล่อแบบไดคาสเพราะสามารถลดน้ำหนักของตัวเครื่องยนต์ได้ ลดกระบวนการผลิตและจำนวนชิ้นส่วนลงได้

“เครื่องฮอนด้ารุ่น A” วิ่งได้ดีไม่มีปัญหาเครื่องยนต์เสียตามที่คาดไว้ อีกทั้งได้ออกแบบวางตำแหน่งท่อไอเสียที่มีอุณหภูมิสูง ให้ขนานไปกับเฟรมตัวถัง เพื่อปล่อยควันเสียไปด้านล่าง สอดคล้องหลักความปลอดภัย เครื่องรุ่นนี้ได้รับการออกแบบอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เช่น ยุคนั้นน็อตยังไม่มีความละเอียดสูง มักมีปัญหาน็อตหลวม แต่รุ่นนี้ยอมให้น็อตหลวมได้ โดยไม่สร้างปัญหาใหญ่ให้กับตัวเครื่อง อีกทั้ง ยังได้ออกแบบให้สามารถถอดประกอบได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษ ทำให้ร้านขายจักรยานที่รับ “เครื่องฮอนด้ารุ่น A” มาจำหน่าย รู้สึกชื่นชอบเป็นอย่างยิ่ง

คับรุ่น F ที่ติดตั้งได้ง่ายที่กลายเป็นสินค้ายอดฮิต

“เครื่องฮอนด้าต์รุ่น A” ได้รับการผลิตมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปีค.ศ. 1951 และ “เครื่องคับรุ่น F” ที่เป็นเครื่องยนต์ทุ่นแรงที่ได้รับการออกแบบเป็นรุ่นต่อมา ได้รับการออกแบบให้ยิ่งใช้งานง่าย มีโครงสร้างเรียบง่าย ทนทานต่อการใช้งาน เครื่องยนต์ทุ่นแรงรุ่นสำหรับจักรยานนี้มีราคาแพงถึง 25,000 เยน เทียบเท่ากับเงินเดือนเฉลี่ย 3 เดือนของพนักงานบริษัททั่วไปในประเทศญี่ปุ่นในยุคนั้น แต่ด้วยคุณภาพสูง คุ้มค่าเกินราคาขาย จึงเป็นที่กล่าวขานกันว่า “ผลิตภัณฑ์ Honda ถึงแม้ว่าจะราคาสูงหน่อย แต่ไม่พัง และใช้งานง่าย” จึงสร้างยอดขายได้ถึง 25,000 เครื่องในปีที่เริ่มจำหน่าย กลายเป็นสินค้ายอดนิยม

ปีค.ศ. 1952 เป็นปีที่เริ่มจำหน่าย “เครื่องคับรุ่น F” และเป็นปีที่ 7 หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่นฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง ภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม การประมง เริ่มหันมาใช้เครื่องจักรที่มีการใช้กำลังคนเป็นตัวให้กำลัง บริษัท Honda ได้ออกจำหน่ายเครื่องยนต์เอนกประสงค์รุ่นแรกชื่อ “รุ่น H” (เครื่องยนต์กระบอกสูบเดี่ยว 2 สูบ 50 cc ขนาด 1 แรงม้า แบบบังคับลมระบายความร้อน) ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1952

เครื่องยนต์เอนกประสงค์รุ่น H เครื่องแรกของ Honda ที่ได้รับการพัฒนาเป็นเครื่องพ่นสารผงแบบอุ้มหลัง

ชิ้นส่วนหลักใช้วิธีการผลิตอลูมิเนียมไดคาส เครื่องยนต์มีขนาดกระทัดรัดน้ำหนักรวมเพียง 6 กก. การสตาร์ทเครื่องที่เป็นงานหนักก็สามารถทำได้โดยง่ายด้วยการใช้เชือกคล้องแล้วกระชากเพียง 2 ครั้ง เป็นที่ชื่นชอบอย่างยิ่ง และได้ผลิตแบบ OEM เป็นเครื่องยนต์ประเภทแขวนหลังสำหรับพ่นสารผง บริษัทได้ส่งออกเครื่องยนต์ “รุ่น H” นี้กว่า 5,000 เครื่อง รวมถึงการส่งออกไปประเทศบราซิลเพื่อใช้ในสวนกาแฟอีกด้วย

เครื่องยนต์เอนกประสงค์ในยุคนี้ส่วนใหญ่เป็นเครื่องยนต์ 2 สูบที่มีข้อเสียคือ สั่นสะเทือนแรง เสียงดัง และมีกลิ่นเหม็น หรือเครื่องยนต์ดีเซลระบายความร้อนด้วยน้ำที่ค่อนข้างหนัก ขนาดใหญ่ และใช้งานยาก หรือเครื่องยนต์ใช้น้ำมัน หากพัฒนาเครื่องยนต์นี้ให้เป็น 4 สูบได้ จะทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนต่ำ ประหยัดน้ำมัน ปรอดกลิ่น และยังมีความทนทานมากขึ้นได้ แต่จะมีโครงสร้างที่ซับซ้อน ทำให้ต้นทุนสูงขึ้นได้

เครื่องยนต์รุ่น T แบบสี่สูบ

อย่างไรก็ตาม บริษัท Honda เลือกที่จะพัฒนาเครื่องยนต์ 4 สูบ โดยมุ่งมั่นร่วมกันที่จะ “สร้างเครื่องยนต์ 4 สูบที่สะไภ้ชาวเกษตรกร สามารถใช้งานได้ง่าย”

บริษัทได้ออกจำหน่ายเครื่องยนต์ “รุ่น T” ซึ่งเป็นเครื่องยนต์สำหรับงานเกษตร คนไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อนก็สามารถใช้งานได้ง่าย เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 1954

“เครื่องยนต์รุ่น T” ที่มีกำลังมากขึ้นถึง 2.5 แรงม้า ได้รับการพัฒนาให้สามารถใช้งานได้อย่างมั่นคง แม้ใช้งานในสรีระที่ต้องวางเอียงข้าง ซึ่งเป็นการใช้งานเฉพาะของงานเกษตร และได้ติดตั้งคาบูเรเตอร์ที่พัฒนาขึ้นเองในบริษัทเป็นครั้งแรก อีกทั้ง ทำการผลิตท่อไอเสียด้วยวิธีที่ไม่ทำให้เปลี่ยนสีในสภาพใช้งานที่มีอุณหภูมิสูง ทำให้เครื่องยนต์นี้ใช้งานได้ง่าย พร้อมทั้งยังดูดีน่าใช้งานอีกด้วย

เศรษฐกิจญี่ปุ่นได้ขยายตัวแบบก้าวกระโดดตั้งแต่กลางทศวรรษ 1950 ไป คนหนุ่มสาวในชุมชนเกษตรกรได้เข้ามาเป็นแรงงานสำคัญในเมืองใหญ่ จึงไม่เหลือแรงงานหนุ่มสาวในชุมชนเกษตร ทำให้เกษตรกรรมที่ใช้เครื่องกำลังคนก็เหลือเพียง “ปู่ ย่า แม่” ที่เป็นสามผู้อ่อนแอในครัวเรือน

ในปีค.ศ. 1953 ญี่ปุ่นได้ออกกฎหมายส่งเสริมการใช้เครื่องจักรการเกษตรที่มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับกำลังการผลิตภาคเกษตร และปรับปรุงธุรกิจการเกษตร ทำให้ครึ่งหนึ่งของครัวเรือนเกษตรกร หรือราว 2.7 ล้านครัวเรือนมีเครื่องสีข้าวอัตโนมัติใช้ การนำเครื่องจักรเกษตรมาใช้งานทดแทนการขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตรเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น

ตลาดเครื่องจักรเกษตรของญี่ปุ่นอยู่ภายใต้การครองตลาดของผู้ผลิตเครื่องจักรเกษตร ทำให้ดูเหมือนว่าผู้ผลิตเจ้าใหม่ไม่มีโอกาสที่จะเข้ามาทำตลาดได้

แต่เครื่องจักรเกษตรในยุคนั้น มีขนาดใหญ่และหนัก ใช้งานยาก “เหมาะกับผู้ใช้งานเป็น” เท่านั้น เครื่องจักรการเกษตรส่งใหญ่ไม่ได้เป็นเครื่องที่ “สะไภ้แต่งเข้าบ้านเกษตรกร จะสามารถใช้ได้โดยง่าย”

ในสภาพการณ์เช่นนี้ บริษัท Honda จึงมีความมุ่งมั่นที่จะ “ป้อนผลิตภัณฑ์ติดตั้งเครื่องยนต์ Honda อย่างน้อย 1 เครื่องต่อ 1 ครัวเรือน เพื่อทุ่นแรง ให้มีประสิทธิภาพการผลิตสูงขึ้น เพื่อพัฒนาให้เป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์” จึงได้จัดตั้งฝ่ายงานออกแบบเครื่องจักรเกษตรกรขึ้นใหม่เมื่อปีค.ศ. 1958

บริษัท Honda ไม่เพียงแต่พัฒนาเครื่องยนต์อย่างเดียว แต่ได้เริ่มพัฒนา “ผลิตภัณฑ์ในการใช้ดำรงชีวิต” เป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ทั้งนี้ เพื่อ “ให้ผู้คนมีความสุขด้วยเทคโนโลยี”

เครื่องตัดหญ้า

ปัจจุบัน เครื่องตัดหญ้าเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรป ช่วงทศวรรษ 1970 มียอดจำหน่ายทั่วโลกที่ 8.5 ล้านเครื่อง โดยจำหน่ายมากที่สุดที่ตลาดอเมริกาเหนือที่มียอดจำหน่ายกว่า 5 ล้านเครื่อง

อย่างไรก็ตาม เครื่องตัดหญ้าในยุคนั้น มีปัญหาเรื่องการสตาร์ทเครื่อง และมีผลิตภัณฑ์จำนวนมากที่มีปัญหาเรื่องเสียหายซ่อมบ่อย รวมทั้งมีปัญหาด้านความปลอดภัยด้วย เพราะว่าเครื่องตัดหญ้าหมุนใบพัดด้วยความเร็วสูง หากใช้งานผิดพลาด จะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ แต่อย่างไรก็ตาม ในยุคนั้น เครื่องตัดหญ้าส่วนใหญ่ไม่ได้มีการติดตั้งระบบความปลอดภัย ดังนั้น หากผู้ใช้ต้องการดึงหญ้าที่ติดค้างอยู่ในช่องคัตเตอร์ โดยไม่ได้ปิดเครื่อง ก็จะเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ง่าย แน่นอนที่มีการพิจารณาออกกฎระเบียบบังคับให้มีการติดตั้งระบบความปลอดภัย แต่มีปัญหาด้านเทคนิคค่อนข้างมาก ทำให้ไม่ได้ออกกฎหมายมารองรับ จึงมีเสียงเรียกร้องต้องการให้มีเครื่องตัดหญ้าที่ใช้งานได้ง่ายและมีความปลอดภัยสูงขึ้น

ในยุคนั้น ประเทศญี่ปุ่นไม่ได้มีเครื่องตัดหญ้าใช้กันอย่างแพร่หลาย ดังนั้น การพัฒนาเครื่องตัดหญ้าจึงเป็นความท้าทายอย่างยิ่งของ Honda ในการพัฒนาครั้งนี้ Honda ให้ความสำคัญกับการสำรวจตลาดใช้งานจริง โดยได้ทำการศึกษาอย่างจริงจังทุกเรื่อง นอกจากศึกษาสภาพแวดล้อมในการใช้งานและความต้องการของผู้ใช้แล้ว ยังนำเข้าพันธ์หญ้าต่าง ๆ เข้ามาเพาะปลูก เพื่อศึกษาการเติบโตของต้นหญ้าและสภาพการณ์เมื่อทำการตัด รวมถึงการจัดการกับต้นหญ้าที่ได้ตัดออกมาแล้ว

เครื่องตัดหญ้ารุ่น HR21 เครื่องแรกของ Honda ติดตั้งกลไก BBC และระบบวาคูมแอ็กชัน

จากผลการสำรวจศึกษา นำไปสู่การวิจัยและพัฒนา โดยในปีค.ศ. 1978 ทาง Honda ได้เริ่มจำหน่ายเครื่องตัดหญ้าแบบเดินตามรุ่น “HR21” และเครื่องตัดหญ้ารุ่น “HR21” มี “กลไกวาคูมแอ็กชัน” ใช้ใบพัดหมุนเร็วสร้างลมเพื่อดันต้นหญ้าให้ชูต้นให้ชันก่อนตัดหญ้า

สามารถเลือกวิธีการที่เหมาะสมกับการตัดหญ้าได้ 3 แบบ โดยแบบแรกคือการตัดหญ้าแล้วนำมาเก็บในถุงเก็บหญ้าขนาดใหญ่ ก่อนนำไปทิ้ง ที่เรียกว่า “แบบแบ็กกิง” แบบที่สองคือการตัดหญ้าอย่างต่อเนื่องโดยพ่นหญ้าที่ตัดแล้วออกมากระจายภายนอกก่อนที่เก็บทิ้งภายหลัง ที่เรียกว่า “แบบดิสชาร์จ” และแบบที่สามคือการตัดหั่นย่อยหญ้าสั้น (หญ้าโตช้า) ให้ละเอียดก่อนพ่นทิ้งกระจายภายนอก ที่เรียกว่า “แบบมัลติง”

นอกจากนั้น ยังรวมศูนย์ระบบควบคุมการใช้งานต่าง ๆ มาให้อยู่ใกล้มือสัมผัส เพื่อยกระดับการใช้งานให้คล่องตัวขึ้น โดยนำเครื่องยนต์รุ่น “GV150” ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ที่ใช้มีความโดดเด่นทางการสตาร์ทเครื่องและความคงทน และเสียงเงียบ มาติดตั้งในเครื่องตัดหญ้า

อีกทั้ง ด้านความปลอดภัย ได้พัฒนา “กลไก BBC (Blade Brake Clutch)” อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่ได้รับการพัฒนาภายใต้คอนเซปต์ความปลอดภัยอย่างยิ่งยวด ระบบนี้ใช้เทคโนโลยีใส่ใจด้านความปลอดภัย โดยจะทำงานเมื่อกดคันโยกคลัชท์ที่มือ เพื่อให้ใบมีดหมุนตัว และถ้าปล่อยมือออกจากคันโยกคลัชท์แล้ว เครื่องจะหยุดทำงานภายใน 3 วินาที “กลไก BBC” นี้ไม่ใช่เพียงกลไกที่ใส่ใจต่อความปลอดภัยเท่านั้น แต่ยังใส่ใจต่อความสะดวกในการใช้งานอีกด้วย กล่าวคือ ถึงแม้ว่าใบมีดจะหยุดหมุนแล้วก็ตาม แต่เครื่องยนต์ยังทำงานอยุ่ เป็นระบบที่ไม่จำเป็นต้องเริ่มสตาร์ทเครื่องใหม่ เมื่อต้องการเริ่มตัดหญ้าอีกครั้ง “กลไก BBC” ที่ Honda ได้พัฒนาขึ้นมานี้ เป็นอุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับเครื่องตัดหญ้าชุดแรกของโลก และเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดการกำหนดมาตรการด้านความปลอดภัยของเครื่องตัดหญ้าขึ้นในสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้เกิดการยกระดับด้านความปลอดภัยของเครื่องตัดหญ้าแบบเดินที่มีจำหน่ายทั้งหมด

เครื่องตัดหญ้าแบบเดินตามของ Honda ที่ใส่ใจด้านความปลอดภัย และมีคุณภาพสูงนี้ ได้รับความชื่นชมจากยุโรปอเมริกาและทุกประเทศทั่วโลก Honda ได้เริ่มเดินเครื่องโรงงานเครื่องตัดหญ้าในอเมริกาขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1984 และได้สร้างโรงงานตามมาในประเทศฝรั่งเศส ออสเตรเลีย และตอบสนองความต้องการของทุกหนแห่งมาจนถึงปัจจุบัน

ด้วยการศึกษาความต้องการของทุกพื้นที่อย่างครบถ้วนถูกต้อง กลายมาเป็นเครื่องตัดหญ้ารุ่น “HR21” ที่มีฟังก์ชันใหม่ แสดงถึงศักยภาพด้านเทคโนโลยีของ Honda และความใส่ใจในจุดละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ของชาวญี่ปุ่น ส่งผลให้สามารถตัดหญ้าได้อย่างสวยงาม ใช้งานได้ง่าย และใส่ใจต่อความปลอดภัยอย่างสูง

รุ่น HRC216 ที่ติดตั้งระบบ HST ครั้งแรกในโลกสำหรับเครื่องตัดหญ้าที่เปิดตัวปีค.ศ.1990

รุ่น HRX537 เปิดตัวปีค.ศ. 2005 เพิ่มฟังก์ชันรีเฟรชเดอร์

โครงสร้างและฟังก์ชันพื้นฐานของ “HR21” ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นและสมบูรณ์ขึ้น ส่งต่อไปสู่รุ่นปรับปรุงใหม่ที่ออกตามมาภายหลัง เครื่องยนต์ที่ติดตั้งก็มีวิวัฒนาการตามมา พร้อมกับติดตั้งกลไกต่าง ๆ ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ นอกเหนือจากฟังก์ชันการตัดหญ้า ตัวอย่างเช่น “กลไก HST (Hydro Static Transmission) หรือระบบส่งกำลังไร้รอยต่อไฮโดรลิก” ที่สามารถเลือกความเร็วที่เหมาะสมกับการใช้งานได้ หรือ “กลไก VST (Variable Speed Transmission)” ที่สามารถควบคุมความเร็วการเดินตามได้ด้วยการใช้งานคันโยก รวมถึงการออกแบบเฮาซ์สิง (ฝาครอบ) ทำจากพลาสติกวิศวกรรม ที่มีน้ำหนักเบาและแข็งแรงทนทาน และระบบสตาร์ทอัตโนมัติ ที่ทำให้การสตาร์ทเครื่องยนต์เป็นเรื่องง่าย เป็นต้น

นอกจากนั้น ยังได้เพิ่ม “กลไก VMS (Variable Mulching System)” ที่สามารถควบคุมเปลี่ยนแปลงวิธีการตัดหญ้าจากแบบแบ็กกิงมาเป็นแบบมัลติงได้ พร้อมกับติดตั้ง “ระบบรีเฟรชเรดเดอร์” ที่สามารถจัดการกับหญ้าที่ตัดแล้ว และตัดใบไม้ที่ร่วงจากต้นได้ด้วย

ในการยกระดับการใช้งานให้คล่องตัว ได้ปรับปรุงและเพิ่มเติมเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามา เช่น “ระบบสมาร์ทไดรว์” ที่สามารถปรับความเร็วได้โดยการใช้งานที่ง่าย หรือ “กลไกเซเลกค์ไดรว์ (ที่ออกจำหน่ายในปีค.ศ. 2015)” ซึ่งสามารถตั้งค่าความเร็วสูงสุดได้ด้วยการหมุนปุ่ม แสดงให้เห็นว่าเครื่องตัดหญ้าของ Honda มีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง

Miimo ที่จะตัดหญ้าแบบอัตโนมัติเพียงป้อนโปรแกรมเข้าเครื่อง

ภายใต้สภาวการณ์ดังกล่าวนี้ พอเข้าช่วงทศวรรษ 2000 ที่เป็นสังคมผู้สูงอายุ และความหลากหลายของการใช้เวลายามว่าง ก็มีผลกระทบตามมา ทางยุโรปได้มีการออกเครื่องตัดหญ้าแบบหุ่นยนต์มาจำหน่าย และ Honda ได้พัฒนา “Miimo เครื่องตัดหญ้าแบบหุ่นยนต์แบบอัตโนมัติสมบูรณ์” ออกมาจำหน่ายในปีค.ศ.2012 โดยเริ่มจำหน่ายจากภูมิภาคยุโรปมาก่อน (และเริ่มจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นเมื่อปีค.ศ. 2017)

Miimo จะทำงานในขอบข่ายการตัดหญ้าที่ถูกกำหนดด้วยลวดกำหนดพื้นที่ซึ่งติดตั้งอยู่ในสนามหญ้า โดย Miimo จะรับสัญญาณจากลวดกำหนดพื้นที่ แล้วตั้งค่าพื้นที่ทำงานก่อนแล้วทำการตัดหญ้า เครื่องตัดหญ้าส่วนใหญ่ใช้วิธีเดียวกันนี้ ซึ่งคุณภาพของสัญญาณที่รับมา เป็นตัวกำหนดการทำงานของเครื่องตัดหญ้าอย่างยิ่ง ในประเด็นนี้ Honda ได้พัฒนาระบบสัญญาณที่มีคุณภาพสูงขึ้นมาเอง โดยใส่ใจต่อผลกระทบที่จะมีต่อเครื่องรอบข้าง แต่ให้สามารถทำงานได้อย่างครบถ้วนถูกต้อง

Miimo จะทำงานในขอบข่ายการตัดหญ้าที่ถูกกำหนดด้วยลวดกำหนดพื้นที่ซึ่งติดตั้งอยู่ในสนามหญ้า โดย Miimo จะรับสัญญาณจากลวดกำหนดพื้นที่ แล้วตั้งค่าพื้นที่ทำงานก่อนแล้วทำการตัดหญ้า เครื่องตัดหญ้าส่วนใหญ่ใช้วิธีเดียวกันนี้ ซึ่งคุณภาพของสัญญาณที่รับมา เป็นตัวกำหนดการทำงานของเครื่องตัดหญ้าอย่างยิ่ง ในประเด็นนี้ Honda ได้พัฒนาระบบสัญญาณที่มีคุณภาพสูงขึ้นมาเอง โดยใส่ใจต่อผลกระทบที่จะมีต่อเครื่องรอบข้าง แต่ให้สามารถทำงานได้อย่างครบถ้วนถูกต้อง

นอกจากนั้น Miimo ยังใส่ใจต่อความปลอดภัย สมมุติว่าเครื่องล้ม หรือถูกยกขึ้น ใบมีดสำหรับตัดหญ้าจะหยุดทำงานฉุกเฉินเองโดยอัตโนมัติ นอกจากนั้น หาก Miimo ชนกับสิ่งกีดขวาง ก็จะเริ่มทำงานใหม่ได้เองโดยการหลีกเลี่ยงพื้นที่ของสิ่งกีดขวางนั้น อีกทั้ง ได้ติดตั้งระบบเซนเซอร์คู่ที่จะจับความผิดปรกตินี้ เพื่อรองรับกับเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ หากเซ็นเซอร์ตัวหนึ่งเสียหาย ก็จะมีเซ็นเซอร์อีกตัวทำงานตรวจสอบความเสียหาย และหยุดระบบได้อย่างปลอดภัย

ในการใช้งาน Miimo ต้องป้อนโปรแกรมง่าย ๆ ในการใช้งาน เพื่อให้ทำงานได้อย่างเหมาะสมและโดยอัตโนมัติ ด้วยโปรแกรมนี้ จะสามารถทำงานภายในพื้นที่ ตัดหญ้าส่วนที่ยาว และปล่อยให้หญ้าตกปลายลำต้น ไม่จำเป็นต้องเก้บไปทิ้ง อีกทั้ง สามารถกลับมาที่สเตชันได้เองเพื่อทำการชาร์จไฟ และเมื่อชาร์จไฟเสร็จแล้ว จะกลับไปทำงานต่อได้อีก ออกแบบให้กันนั้น จึงไม่จำเป็นต้องนำกลับมาไว้ในตัวอาคารเมื่อฝนตก

ได้ติดตั้งโหมดเส้นทางตัดหญ้าไว้ 3 โหมดตามสภาพการณ์ของหญ้าคือ “โหมดแรนดอม” “โหมดซิกแซก” และ “โหมดผสม” และรองรับพื้นที่ลาดชันถึง 25 องศา และมีศักยภาพเดินตัดแนวขวางของพื้นลาดชันได้ดี สามารถตัดหญ้าได้ดีโดยไม่ขึ้นกับพื้นที่ลาดชัน หรือพื้นที่ราบ

Honda ใส่ใจอย่างยิ่งต่อการออกแบบ Miimo โดยไม่ใช้เส้นสายการออกแบบเป็นเส้นตรงที่เน้นเชิงรุก แต่ออกแบบให้มีเส้นสายเป็นเส้นโค้งที่เข้าถึงง่าย เพื่อให้นึกถึงสัตว์เลี้ยงวิ่งบนสนามหญ้า ซึ่งเป็นจุดเด่นสำคัญของ Miimo และ Miimo ยังได้รับความชื่นชมอย่างดีจากยุโรป ทั้งในด้านคุณภาพสูงและสมรรถนะการใช้งาน จึงได้เริ่มจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นและอเมริกาเหนือ

เครื่องตัดหญ้าแบบเดินตามได้รับความนิยมเพราะนอกจากใช้งานจริง ยังเป็นส่วนหนี่งของงานอดิเรกได้ และ Miimo สามารถคงรักษาสภาพของพื้นหญ้าให้สวยงามได้ตลอด “24 ชม. ถึง 365 วัน ” ให้ความสวยงามแบบอุดมคติได้ เครื่องตัดหญ้าของ Honda พร้อมตอบรับความต้องการลูกค้าด้วยสายผลิตภัณฑ์ที่มากมายหลากหลาย

ปรัชญาของสินค้า Power Product ของ Honda ที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงคือ “ใช้เทคโนโลยีให้ผู้คนมีความสุข” เป็นสิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงมตลอดนับแต่เปิดตัว “เครื่องยนต์รุ่น H” ในปีค.ศ. 1953 เพื่อช่วยทุ่นแรง และลดเวลาทำงาน Miimo ซึ่งเป็นระบบอัตโนมัติสมบูรณ์ในด้านการตัดหญ้า จะมาทำหน้าที่โดยอัตโนมัติแทนคน เพื่อบรรลุเป้าหมายของผลิตภัณ์ Power Product อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ไม่ใช่ปลายทาง แต่เป็นจุดเริ่มต้นใหม่ไปสู่เครื่องตัดหญ้าที่จะมีคุณภาพสูงขึ้นและมีประสิทธิภาพการทำงานที่สูงขึ้น

เครื่องกำเนิดไฟฟ้า

เครื่องกำเนิดไฟฟ้าของ Honda ให้กำลังไฟฟ้าที่จำเป็น เมื่อยามจำเป็น ณ สถานที่จำเป็น Honda ต้องการตอบความต้องการที่หลายหลากของทั่วโลก จึงได้พัฒนากลุ่มสินค้าที่ครอบคลุม ทั้งแบบพกพาสามารถนำขนย้ายได้ และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำหรับงานอุตสาหกรรมเก็บประจุไฟฟ้าขนาดใหญ่ รวมถึงเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำหรับยามฉุกเฉินที่จะเดินเครื่องอัตโนมัติเมื่อเกิดไฟดับ

รุ่น E300 ขนาดกระทัดรัดน้ำหนักเบาใช้งานง่าย ได้สร้างตลาดใหม่คือกลุ่มเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบพกพา

ก้าวแรกนั้นเริ่มจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบพกพาขนาดเล็กรุ่น “E300”

เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบใช้เครื่องยนต์มีประวัติศาสตร์มาช้านาน เครื่องยนต์ทุ่นแรงสำหรับจักรยานซึ่งเป็นจุดตั้งต้นของ Honda ก็ได้มาจากการประยุกต์ใช้เครื่องยนต์กำเนิดไฟฟ้าสำหรับเครื่องมือสื่อสารที่ใช้กับกองทัพบกญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลก เครื่องกำเนิดไฟฟ้าในยุคทศวรรษ 1950 มักถูกนำไปใช้เพื่องานโรงงานหรือใช้ในกองทัพ มีขนาดใหญ่ ยุ่งยากในการใช้งาน และมีเสียงดังเมื่อใช้งาน

รุ่น E40 อันเป็นจุดเริ่มของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบพกพา

ในปีค.ศ. 1962 บริษัท Honda ได้แสดงความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำหรับโทรทัศน์ขนาดเล็กของโซนี่ โดยพัฒนาเครื่อง “E40” ขึ้นมา ทั้งนี้ เครื่อง “E40” ได้เปลี่ยนกรอบความคิดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีอยู่เดิมอย่างสิ้นเชิง เพราะเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็กที่สามารถพกพาได้ ถึงแม้ว่า “E40” จะไม่ได้ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์สู่ท้องตลาด แต่บริษัทฯ ได้ใช้ความสามารถทางเทคโนโลยีที่สามารถพัฒนาโครงสร้างให้มีขนาดบรรจุในกล่องเล็ก ซึ่งไม่มีที่ไหนทำขึ้นมาได้ก่อน นำไปไปพัฒนาและเริ่มจำหน่ายเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบพกพา โดยผลิตแบบมาสโปรดักชันชี่อรุ่น “E300” ในปีค.ศ. 1965

คอนเซปต์ในการพัฒนารุ่น “E300” คือ “ให้มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และสะดวกที่จะขนย้าย” “ไม่ว่าใครก็ใช้งานได้ง่าย มีเสียงเงียบ” “มีดีไซน์ที่ไม่เหมือนเครื่องจักร คล้ายกับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน” จนได้เครื่องยนต์เป็นแบบสี่สูบมีวาล์วด้านข้างขนาด 55.2 ซีซี ได้รับการออกแบบเป็นการเฉพาะ เพื่อให้บรรจุในกล่องขนาดเล็กได้ มาพร้อมกับกลไกวาล์วโรเตเตอร์ที่สามารถเดินเครื่องได้เป็นเวลานาน และเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาขึ้นใหม่ เช่น เพลาลูกเบี้ยวขับเคลื่อนตามสายพานไทมิ่งตัวแรกของโลก ที่ให้ทั้งน้ำหนักเบาและความเงียบ กล่องขนาดเล็กที่ให้ความรู้สึกเหมือนกับกระเป๋าเอกสาร ได้รับออกแบบให้มีปุ่มสวิทซ์ต่าง ๆ แบบเรียบง่าย ทำให้สามารถใช้งานได้ง่าย

เมื่อจำหน่ายช่วงแร Honda ได้คาดการณ์ไว้ว่าจะถูกนำไปใช้กับกิจกรรมสันทนาการกลางแจ้งเป็นหลัก แต่ด้วยความสะดวกในการใช้งาน ทำให้มีความต้องการจากภาคอุตสาหกรรม เช่น ใช้กับหน้างานก่อสร้าง ทำให้เป็นที่นิยม จนสร้างยอดขายสะสมได้ถึง 5 แสนเครื่อง

นอกจากนั้น รุ่น “E300” ได้ให้ข้อมูลจำนวนมากเพื่อการออกกฎหมายและระเบียบบังคับที่เกี่ยวกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบพกพาใส่ใจในด้านความปลอดภัย และมีส่วนช่วยยกระดับด้านความความปลอดภัยของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ออกมาสู่ตลาดในภายหลัง

รุ่น EX400 เด็นต้าที่กลายมาเป็นชื่อเรียกของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพกพา

ในปีค.ศ. 1979 รุ่น “E300” ได้ถูกส่งทอดไปสู่รุ่น “E400” ซี่งได้รับการพัฒนาให้มีกำลังเพิ่มมากขึ้น และติดตั้งระบบควบคุมแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติ ให้มีแรงดันไฟฟ้าคงที่ เครื่องกำเนิดไฟฟ้ารุ่น “E400” ที่ใช้งานได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมนี้ ได้ออกจำหน่ายไปสู่ทั่วโลก มียอดจำหน่ายต่อปีกว่า 1 แสนเครื่อง และในตลาดญี่ปุ่น ได้กลายเป็นรุ่นตัวแทนของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบพกพาในตลาดภายใต้ชื่อ “เดนต้า”

เมื่อเข้าสู่ทศวรรษที่ 1990 คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ที่มีความละเอียดและสมรรถนะสูงเป็นที่แพร่หลายอย่างรวดเร็ว อุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ความละเอียดสูงเหล่านี้ได้รับการออกแบบมาให้ใช้ไฟฟ้าที่ผ่านเต้าเสียบในบ้าน (กล่าวคือ ให้ใช้กับคลื่นไฟฟ้าที่มีรูปทรงเรียบคงที่) ซึ่งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบพกพาที่ใช้เครื่องยนต์หมุนปั่นไฟฟ้า จะให้ไฟฟ้าที่แตกต่างจากไฟฟ้าที่ได้จากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดใหญ่ หากยังใช้วิธีกำเนิดไฟฟ้าแบบเดิม จะทำให้คลื่นไฟฟ้าเกิดการสั่นไหว อีกทั้ง ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ทั่วโลกให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นต้องพัฒนาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ประหยัดเชื้อเพลิง เงียบ และมีแรงสั่นสะเทือนต่ำ

รุ่น EU9i จากซีรีส์ GENE21 ที่ให้ไฟฟ้าเป็นรูปคลื่นที่เป็นระเบียบสวยงาม

Honda ได้ตั้งเป้าหมายว่า “ต้องไล่ตามและเอาชนะไฟฟ้าจากเต้าเสียบ (ที่มีอยู่ตามกำแพงในครัวเรือน) ให้ได้” โดยมุ่งมั่นสู่ความท้าทายที่จะพัฒนาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ให้คลื่นรูปทรงเรียบคงที่ ปล่อยควันเสียน้อย เงียบ และมีแรงสั่นสะเทือนต่ำ โดยพัฒนาอินเวอร์เตอร์คลื่นไซน์ และอัลเทอร์เนเตอร์แบบเอาท์เตอร์โรเตอร์หลายแกนความเร็วต่ำ ที่มาพร้อมกับระบบควบคุมด้วย CPU ที่สามารถคำนวณได้หลายหมื่นครั้งใน 1 วินาที ซี่งนำมาติดตั้งในเครื่องระดับนี้เป็นครั้งแรก จนประสบความสำเร็จ และเริ่มจำหน่าย “ซีรีส์ GENE21” เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบพกพาที่สามารถให้ไฟฟ้าคลื่นที่มีรูปทรงเรียบคงที่ได้ในปีค.ศ. 1998

ด้วยการพัฒนาให้อัลเทอร์เนเตอร์มีขนาดเล็กที่สุดและมีน้ำหนักเบา (เพียง 1/2 ของรุ่นเดิม) จึงได้เครื่อง EU9i ระดับกำลังไฟฟ้า 1kVA ที่มีน้ำหนักเบาที่สุดเพียง 13 กก. และวางโครงสร้างกันเสียงแบบสองชั้น ผ่านมาตรฐานเสียงรบกวนของยุโรป (EN) ที่มีความเข้มงวดมาก นอกจากนั้น ยังติดตั้งลิ้นบังคับเพลาแบบอีโคที่จะควบคุมรอบหมุนของเครื่องยนต์ได้อัตโนมัติ ทำให้ปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ลดลง 20 – 40 % ประสบความสำเร็จในการลดควันเสียและเสียงรบกวน อีกทั้ง ยังออกแบบให้ต่อเรียงเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 2 เครื่องแบบอนุกรม ให้ได้กำลังไฟฟ้าที่มากขึ้นได้

“ซีรีส์ GENE21” ได้รับการออกแบบเพื่อรองรับศตวรรษที่ 21 มีสายผลิตภัณฑ์ที่มากมายหลากหลาย ทั้งรุ่นที่เพิ่มกำลังไฟฟ้า รุ่นเงียบเสียงรบกวนต่ำ และรุ่นที่มาพร้อมอุปกรณ์ฉีดเชื้อเพลิงควบคุมด้วยระบบอีเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น “เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสีแดง” ของ Honda นี้มีวิวัฒนาการมาตลอดจนสุกงอม กลายเป็นแบรนด์สินค้าคุณภาพสูงในที่สุด ทั่วโลกทั้งอเมริกาเหนือและยุโรปที่ต้องการใช้กำลังไฟฟ้าสูง สามารถใช้กับเครื่องปรับอากาศสำหรับกิจกรรมสันทนาการกลางแจ้งได้ จนทำให้ “ซีรีส์ GENE21” มียอดผลิตสะสมกว่า 1 ล้านเครื่องได้อย่างรวดเร็วในปีค.ศ.2006

รุ่น E1000 ที่ได้รับการติตดั้งในโครงสร้างที่แข็งแรง นิยมใช้กับหน้างานของกลุ่มมืออาชีพ

เครื่องกำเนิดไฟฟ้าของ Honda ไม่ได้มีแต่เพียงแบบพกพา แต่ยังตอบความต้องการของงานอุตสาหกรรมที่ต้องการกำลังไฟฟ้าสูงได้ด้วย โดยเริ่มจำหน่าย “E1000” ในปีค.ศ. 1965 เครื่องกำเนิดไฟฟ้ารุ่น “E1000” ถูกจัดวางให้อยู่ในโครงสร้างเครื่องพร้อมเฟรมที่แข็งแรง มีรูปแบบเรียบหรูภายนอกดูดี ใช้งานง่าย คงทน และน่าเชื่อถือ ต่างจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเดิมที่ขาดความประณีต จึงเป็นที่ชื่นชอบอย่างยิ่งของกลุ่มผู้ใช้หน้างานที่เป็นมืออาชีพ

รุ่น EM3000 ที่ติดตั้งระบบกันเสียงประสิทธิภาพสูง

ในเมืองใหญ่ มีความต้องการเครื่องกำเนิดไฟฟ้างานก่อสร้างกลางคืนเพิ่มมากขึ้น เพราะต้องการเครื่องเสียงเงียบ จึงได้เริ่มจำหน่ายเครื่องกำเนิดไฟฟ้าปลอดเสียงที่มีเสียงรบกวนต่ำและให้กำลังไฟฟ้าสูง “ซีรีส์ EM” ในปีค.ศ.1973 ซี่งเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีเสียงเบามาก เพราะมีเรื่องเล่าว่าในขั้นสุดท้ายของการพัฒนา ได้ทำการทดลองเดินเครื่องในยามดึกดื่นที่หน้าบ้านวิศวกรผู้รับผิดชอบการพัฒนา แต่กลับไม่ได้ยินเสียงเลย รุ่น “ซีรีส์ EM” นี้ ได้รับความชื่นชมเรื่องเสียงเบา มีการนำไปใช้อย่างหลากหลาย ทั้งในทีมถ่ายทำภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์ เป็นต้น

เพื่อตอบรับความต้องการใช้งานเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีความหลากหลาย Honda จึงได้พัฒนาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีสายผลิตภัณฑ์ที่มากมายหลากหลาย ตั้งแต่เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็กสามารถพกพาได้ จนถึงเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากำลังสูงสำหรับมืออาชีพ จนมียอดจำหน่ายสะสมเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเกิน 1 ล้านเครื่องในปีค.ศ. 1978

ในขณะเดียวกัน ทั่วโลกเกิดอุบัติภัยขนาดใหญ่ จึงทำให้เกิดความสนใจในประโยชน์ที่จะได้จากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ที่ใช้เป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้าฉุกเฉินเมื่อเกิดอุบัติภัย ประเทศญี่ปุ่นได้เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในเขตภูมิภาคฮันชินอาวาจิ เมื่อเช้าตรู่วันหนึ่งของเดือนมกราคมปีค.ศ.1995 ทำให้เกิดไฟดับในหลายพื้นที่ สัญญาณจราจรไม่ทำงาน ระบบจราจรเป็นอัมพาต เป็นอุปสรรคสำคัญในการขนส่งถุงยังชีพและทีมช่วยเหลือจากเมืองข้างเคียง เมื่อเกิดเหตุการณ์ครั้งนั้น Honda ได้พัฒนาเครื่องกำเนิดไฟฟ้ายามฉุกเฉินระบบเดินเครื่องอัตโนมัติ ที่จะเดินเครื่องเองโดยอัตโนมัติเมื่อไฟดับ และหยุดจ่ายไฟเมื่อระบบฟื้นคืนกลับเหมือนเดิม “เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ไม่ควรถูกใช้งาน” นี้ ได้รับการทาสีด้านนอกให้สามารถใช้งานกลางแจ้งได้ 20 ปี และถูกนำไปส่งมอบกว่า 500 แห่งทั่วประเทศญี่ปุ่น

ยิ่งกว่านั้น เมื่อเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ทางตะวันออกของประเทศญี่ปุ่นเมื่อปีค.ศ. 2011 ทำให้โครงสร้างพื้นฐานหลายแห่งได้รับความเสียหายภายในพริบตา ครั้งนั้น กลับกลายเป็นเหตุการณ์ที่พิสูจน์ให้เห็นถึงประสิทธิผลของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบพกพาของ Honda จากนั้น บริษัทฯได้นำบทเรียนจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ทางตะวันออกของประเทศญี่ปุ่นนี้มาใช้ประโยชน์ ด้วยการเปลี่ยนเชื้อเพลิงจากน้ำมันเบนซินที่จะหาได้ยาก มาเป็นถังแก๊สที่สามารถหาใช้งานได้ง่าย และได้พัฒนาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า “EU9iGP” (เม.ย. 2012) และ “EU15iGP” (เม.ย. 2014) เพื่องานป้องกันอุบัติภัย

รุ่นเอเนโพ 9iGB ที่ใช้กระป๋องแก๊ส LPG เป็นเชื้อเพลิง

หลังจากจำหน่ายรุ่น “E300” ในปีค.ศ. 1965 ทาง Honda ได้ทำการพัฒนาค้นคว้าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นเวลานาน โดยจับตามองที่เชื้อเพลิงที่ใช้กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และได้จำหน่ายเครื่องกำเนิดไฟฟ้าใช้แก๊ส ที่ใช้ถังแก๊สเป็นเชื้อเพลิงรุ่น “เอเนพาวเวอร์ 9iGB” ในปีค.ศ.2010 ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำมันเบนซินแล้ว ถังแก๊สจะหาซื้อและเก็บรักษาได้ง่ายกว่า เครื่องกำเนิดไฟฟ้ารุ่น “เอเนพาวเวอร์ 9iGB” ได้รับความชื่นชมจากผู้คนที่ใช้งานเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นครั้งแรก

แบตเตอรี่รุ่น E500 ที่มีแนวคิดต่างจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

ยิ่งกว่านั้น Honda ได้ออกจำหน่ายแบตเตอรี่ไฟฟ้ารุ่น “รีเบด E500” ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีกรอบแนวคิดต่างไปจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเดิมเมื่อปีค.ศ. 2017 รุ่นนี้เป็นแบตเตอรี่แบบขนย้ายได้ที่สามารถชาร์จไฟจากเต้าเสียบตามบ้านหรือเต้าเสียบสำหรับรถยนต์ได้ โดยมีรูปทรงคล้ายคลึงกับรุ่น “E300” แต่มีขนาดกระทัดรัด น้ำหนักเพียง 5.3 กก. ทำให้ง่ายต่อการขนย้าย และมีจุดเด่นที่สุดคือไม่มีควันเสีย สามารถใช้งานได้ในร่ม ทั้งในอาคาร ในรถ หรือในเต็นท์ เป็นต้น อีกทั้ง มีพัดลมไฟฟ้าสำหรับระบายความร้อนภายในให้กับอินเวอร์เตอร์ แต่เงียบมีเสียงรบกวนน้อย มีสเป็กที่ง่ายต่อการใช้งานเพียงเสียบเต้าเสียบหรือต่อสาย USB แล้วกดปุ่มก็สามารถใช้งานได้ ติดตั้งอินเวอร์เตอร์คลื่นไซน์ที่เหมาะกับการใช้งานอุปกรณ์ความละเอียดสูง เช่น คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์สมาร์ทโฟน เป็นต้น

กรณีใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการกำลังไฟฟ้าสูง สามารถฟังก์ชันต่อเรียงแบบอนุกรมกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของ Honda ที่ให้กำลังฟ้าสูง เช่น “ซีรีส์ GENE21” “เอเนพาวเวอร์ 9iGB” เป็นต้น แบตเตอรี รุ่น “รีเบด E500” ที่สามารถใช้งานได้ง่ายเหมือนกับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านนี้ เป็นจุดเริ่มของความท้าทายใหม่ ที่เกิดขึ้นได้เพราะกรอบแนวคิดและเทคโนโลยีของ Honda เท่านั้น เพราะเราได้ค้นคว้าพัฒนาเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามาเป็นเวลายาวนาน

“เครื่องกำเนิดไฟฟ้า” ที่ Honda ได้สร้างมาอย่างต่อเนื่อง กับ “แบตเตอรี” ที่ได้พัฒนาขึ้นมาใหม่ – สองสิ่งที่เหมือนและแตกต่างกันนี้ จะมาขยายโอกาสความเป็นไปได้ที่จะ “ขนย้ายไฟฟ้าติดตัวไปได้” ต่อไป

เครื่องไถนา

ประเทศญี่ปุ่นในช่วงต้นทศวรรษ 1940 ยังเป็นประเทศเกษตรกรรมอยู่ เพราะราวครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งประเทศที่มีอยู่ 72 ล้านคนเป็นประชากรที่อาศัยอยู่ในชนบทประกอบอาชีพเกษตรกรรม อย่างไรก็ตาม ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้ชายถูกเกณฑ์ทหาร เมื่อแพ้สงคราม(ในปีค.ศ.1945) จึงเกิดปัญหาขาดแคลนแรงงาน และเมื่อเข้าสู่ทศวรรษ 1950 ญี่ปุ่นเข้าสู่ช่วงเศรษฐกิจขยายตัวอย่างรวดเร็ว วัยรุ่นที่จะมาเป็นแรงงานสำคัญของภาคเกษตรกรรมได้ออกมาทำงานในเมืองใหญ่ เป็นแรงงานสำคัญในการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้ปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตรกรรมเป็นปัญหาที่มีความรุนแรงมากขึ้น ดังนั้น การพัฒนาเครื่องจักรมาใช้ในงานเกษตรกรรมเพื่อยกระดับประสิทธิภาพให้มีความทันสมัย ทดแทนแรงงานที่ขาดแคลน รองรับกับความเปลี่ยนแปลงทางสภาพแวดล้อมของเกษตรกรรม จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง

ภายใต้สภาพการณ์ดังกล่าว บริษัทผู้ผลิตเครื่องจักรเพื่อเกษตรกรรมได้ขอให้บริษัท Honda พัฒนาเครื่องยนต์เพื่อพ่นสารผง โดย Honda ได้พัฒนาเครื่องยนต์สองสูบ “รุ่น H” ขึ้นมาจำหน่ายแบบ OEM ในปีค.ศ. 1953 จากนั้นได้พัฒนาเครื่องยนต์เพื่อการเกษตรต่าง ๆ เช่นเครื่องยนต์สี่สูบ “รุ่น T” เครื่องยนต์ “รุ่นVN” ที่ให้กำลังสูงขึ้น เป็นต้น มีส่วนช่วยยกระดับเกษตรกรรมของญี่ปุ่นให้ทันสมัย

เครื่องจักรเพื่อการเกษตรในปีทศวรรษ 1950 ส่วนใหญ่ต้องใช้ร่วมกับเครื่องยนต์เพื่อการเกษตร เช่น เครื่องไถดิน หรือเครื่องสีข้าว เป็นต้น อย่างไรก็ตาม รูปแบบการใช้งานเช่นนี้ จำเป็นต้องตั้งเครื่องใหม่ทุกครั้งที่เริ่มใช้งาน คือต้องมี “ความคุ้นเคย” และ “รู้เคล็ดลับ” ตั้งแต่เริ่มสตาร์ทเครื่องจนถึงใช้งานเครื่องยนต์จริง จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่ใครก็จะใช้เครื่องยนต์ได้ อีกทั้ง มีปัญหาในด้านความปลอดภัยด้วย เพราะอยู่ในสภาพโล้น ๆ ไม่มีชิ้นส่วนเพื่อความปลอดภัย เช่น ฝาครอบที่ครอบส่วนที่มีการเคลื่อนที่หรือส่วนที่เป็นเครื่องกล

การที่ Honda พัฒนาเครื่องยนต์จำหน่ายแบบ OEM ขึ้นมา มีส่วนช่วย “ทุ่นแรงที่ต้องทำงานหนัก ด้วยการนำเครื่องจักรมาใช้งาน” อย่างไรก็ตาม “เครื่องยนต์เป็นเพียงสินค้ากึ่งสำเร็จรูป ต้องสร้างสินค้าสำเร็จรูปขึ้นจริง จึงจะสามารถทุ่นแรงที่ต้องทำงานหนักได้จริง” จากความมุ่งมั่นดังกล่าว จึงได้จัดตั้งฝ่ายงานพัฒนาเครื่องจักรเพื่อการเกษตรขึ้นในปีค.ศ.1958 โดยเริ่มพัฒนาเครื่องไถดิน ซึ่งเป็นเครื่องจักรที่เกษตรกรต้องการมากที่สุด และในปีค.ศ.1959 บริษัท Honda ได้เริ่มจำหน่ายเครื่องไถดิน “F150” ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปแรกในกลุ่มผลิตภัณฑ์เอนกประสงค์

เครื่องไถนา F150 ที่เป็นเครื่องยนต์เอนกประสงค์แรกของ Honda

“F150” ได้รับการพัฒนาภายใต้คอนเซปต์ “เครื่องไถดินจาก 10 ปีอนาคต มาพร้อมนวัตกรรมที่ไม่เคยมีมาก่อน” มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ใครก็สามารถใช้งานได้โดยง่าย อีกทั้ง ในประเทศญี่ปุ่นสมัยนั้น รถยนต์ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย แต่สามารถใช้เครื่องไถดินนี้เป็นรถหัวลาก ใช้แทนรถบรรทุกได้อีกด้วย เป็นเครื่องไถดินที่ให้ความสะดวกเป็นอย่างยิ่ง

“F150” ได้รับการออกแบบให้มีการจัดวางเครื่องยนต์ในแนวตั้ง เหมาะกับสภาพการณ์เกษตรกรรมของประเทศญี่ปุ่น ทำให้มีศูนย์ถ่วงต่ำ มีโครงสร้างรวมมิชชันไว้ในตัว จึงมีขนาดกระทัดรัด “F150” มีศูนย์ถ่วงต่ำ ช่วยให้วิ่งได้อยางมั่นคง และติดตั้งคลัชแบบเหวี่ยงศุนย์อัตโนมัติและมิชชัน 3 สเต็ป จึงให้สมรรถนะการขับขี่ที่มั่นคงสูง ไม่ได้ใช้กับงานเกษตรกรรมเท่านั้น แต่ยังใช้เป็นรถลากสำหรับโรงงานได้ด้วย

“F150” มีชุดควบคุมการใช้งานอยู่ใกล้มือ และด้วยคลัชแบบเหวี่ยงศูนย์ที่ใช้ในซูเปอร์คับด้วย จึงทำให้ใช้งานและควบคุมเครื่องได้ง่าย การสตาร์ทเครื่องที่แต่เดิมต้องอาศัยประสบการณ์ ก็ง่ายขึ้นด้วยการใช้คันโยกที่ใกล้มือแทน และติดตั้งโช๊คอัพที่ส่วนโคนของคันบังคับช่วยลดแรงสั่นสะเทือน และมีฝาครอบส่วนเครื่องกลที่เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องยนต์ (ฟูลโคเวอร์) ช่วยยกระดับความปลอดภัย อีกทั้ง ออกแบบให้มีตัวถังสีแดงที่ดูสมาร์ท เป็นการเปลี่ยนภาพลักษณ์เดิมของเครื่องไถดิน สร้างภาพพจน์ใหม่ให้กับงานเกษตรกรรม

“F150” ที่ได้รับการพัฒนาในมุมมองที่ต่างไปจากเดิมโดย Honda ได้รับเสียงชื่นชมอย่างยิ่ง จนเป็นที่กล่าวขานว่าเกิดปรากฎการณ์ “รถไถดินฮอนด้าแดงเต็มไร่นา” ทำให้วงการเครื่องจักรเพื่อการเกษตรช็อคไปหมด และสร้างแนวทางใหม่ต่อการพัฒนาเครื่องจักรเพื่อการเกษตรเป็นอย่างยิ่ง

รุ่น F190 ที่มีกำลังเพิ่มขึ้นจากรุ่น F150

ซีรีส์ F สมรรถนะหลากหลายที่นำมาใช้เป็นเครื่องยนต์ลากรถลากเข็น

เมื่อเข้าทศวรรษ 1960 ความต้องการเครื่องจักรเกษตรที่ให้กำลังสูงมีเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับกับงานเกษตรที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ดังนั้น Honda จึงได้เริ่มจำหน่ายรุ่น “F190” ที่มีขนาดกระบอกสูบใหญ่ขึ้นในปีค.ศ.1961 และในปีค.ศ.1963 ได้เริ่มส่งออกรุ่น “F190” เป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปในกลุ่มผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์เอนกประสงค์ของ Honda ไปยังประเทศฝรั่งเศสเป็นครั้งแรก ซึ่งรุ่น “F190” ที่มีขนาดเล็กน้ำหนักเบาพลังสูง ถูกนำไปใช้เป็นเครื่องจักรการเกษตรขนาดเล็กในสวนองุ่นของประเทศฝรั่งเศส ได้รับความชื่นชมในการใช้งานที่แสนง่าย และสมรรถนะที่สูง ในปีค.ศ.1968 จึงได้เปลี่ยนโมเดลออกรุ่น “F80” ที่ได้รับการปรับปรุงให้มีกำลังสูงเพิ่มขึ้น เครื่องไถดินที่ได้รับการสืบทอดโครงสร้างพื้นฐานและดีไซน์ “F150” ได้เปลี่ยนโมเดลมาหลายครั้ง และสร้างยอดขายได้ยาวนานเป็นประวัติการณ์นานถึง 13 ปี

รุ่น F90 เครื่องยนต์ดีเซลรุ่นแรกของ Honda

เครื่องยนต์รุ่น F60 ที่พัฒนาขึ้นมาเป็นการเฉพาะสำหรับเครื่องไถนา

เครื่องยนต์รุ่น F25 ที่มีขนาดเล็กแบบถอดได้โดยง่าย

เมื่อเข้าทศวรรษ 1970 ความต้องการของเกษตรกรเริ่มมีความหลากหลาย มีความต้องการเครื่องไถดินที่เหมาะสมกับพื้นที่การเกษตรและงานเกษตรที่ทำ ทาง Honda จึงได้ออกรุ่น “F60” ที่มีราคาถูก ใช้งานคงทน ซึ่งเหมาะกับงานเพาะปลูก และมีขนาดเล็กน้ำหนักเบากว่ารุ่น “F190” ที่เป็นรุ่นสารพัดประโยชน์ และยังได้ออกรุ่น “F90” ที่เป็นเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ โดยติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซลให้กำลัง 9 แรงม้าระบายความร้อนด้วยน้ำรุ่นแรกของ Honda ที่เพิ่มกำลังในการถางดินได้สูงขึ้น รวมถึงรุ่น “F25” ที่สามารถนำไปใช้แบบพกพาได้ มีน้ำหนักเพียง 37 กก. ขนาดกระทัดรัด มีคันบังคับแบบพับได้ และยังสามารถถอดเครื่องยนต์ได้ จึงสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องยนต์ของปั๊มป์หรือเครื่องสีข้าวได้ ทั้งนี้ เพื่อให้ตอบความต้องการของเกษตรกรที่มีความหลากหลายมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม หลังทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา เมื่อเครื่องไถดินเป็นที่นิยมแพร่หลายไปทั่ว เกษตรกรรมในประเทศญี่ปุ่นได้เข้าสู่ช่วงเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ ในยุคนั้น ประเทศญี่ปุ่นได้ขยายตัวทางเศรษฐกิจ ผันเปลี่ยนจากประเทศเกษตรกรรมไปเป็นประเทศอุตสาหกรรม ประชากรภาคเกษตรกรรมลดลงเป็นจำนวนมาก รูปแบบเกษตรกรรมเปลี่ยนจากเกษตรกรรมขนาดเล็กที่ทำในครัวเรือน ไปสู่เกษตรกรรมขนาดใหญ่ใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่เป็นหลัก ส่งผลให้เครื่องจักรที่ใช้ในการเกษตรผันเปลี่ยนไปสู่เครื่องจักรขนาดใหญ่เหมาะสำหรับการใช้งานเฉพาะทาง

โคมาเมะ F200 รุ่นแรกที่เปิดตัวในปีค.ศ.1980 และสร้างตลาดเครื่องไถนาสำหรับงานอดิเรก

ภายใต้แนวโน้มดังกล่าว ในเมืองใหญ่เอง เริ่มมีการใช้ประโยชน์จากพื้นที่เพาะปลูกรกร้างมาทำเป็นสวนครัวในบ้าน ซึ่งเป็นงานอดิเรกที่เป็นที่นิยมอย่างหนึ่ง

เพื่อตอบรับกับความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างการเกษตรนี้ Honda ได้เริ่มสร้างความท้าทายใหม่ ๆ โดยได้พัฒนาเครื่องไถดินขนาดเล็กพิเศษรุ่น “โคมาเม F200” สำหรับงานอดิเรก จำหน่ายในปีค.ศ.1980 ภายใต้คอนเซปต์การพัฒนาว่า “ถึงเป็นคนไม่เคยใช้เครื่องไถดิน ก็สามารถใช้ได้ง่าย”

“โคมาเม F200” มีน้ำหนักเบาพิเศษเพียง 25.5 กก. สามารถยกเคลื่อนย้ายได้ง่าย มีคันบังคับแบบพัดได้ สามารถยกขึ้นเก็บในรถบรรทุกได้ การใช้งาน “โคมาเม F200” ง่ายมาก เพียงสตาร์ทเครื่องยนต์ด้วยรีคอยล์สตาร์ทเตอร์ ที่ดึงโดยไม่ต้องใช้แรงมาก แล้วจับคันบังคับก็สามารถใช้งานได้โดยง่าย ดูภายนอกน่ารัก แต่ภายในเต็มไปด้วยโนวฮาวด้านเครื่องไถดินที่ Honda ได้สั่งสมมาเป็นเวลานาน ทั้งระบบเบรกที่ประยุกต์ใช้เกียร์พลาเนทารี ซึ่งติดตั้งเข้ามากับเครื่องไถดินขนาดเล็กพิเศษที่สามารถทำงานได้อย่างสมจริง

“โคมาเม F200” เหมาะกับการใช้งานในไร่บนป่าเขา หรือสวนผลไม้ที่ไม่สามารถนำเครื่องจักรขนาดใหญ่เข้าไปทำงานได้ รวมถึงสวนครัวหรือไร่ขนาดเลล็ก เมื่อออกจำหน่ายสู่ตลาด พบว่าส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรที่ซื้อไปใช้ ต่างจากที่ได้คาดหมายไว้ตอนแรก

โคมาเมะ F200 ได้รับการเปลี่ยนรุ่นมาหลายครั้ง โคมาเมะF220 เป็นเจเนเรชันที่สี่ เปิดตัวในปีค.ศ.2016

“โคมาเม F200” เป็นที่รู้จักทั่วไป เพราะได้มีการออกโฆษณาทางโทรทัศน์ และมีกิจกรรมส่งเสริมการขาย ทำให้เป็นที่แพร่หลายในงานสวนอดิเรก และเมื่อเปิดตัวในงานเกษตรกรรมโชว์ที่กรุงปารีส ทำให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง สร้างสถิติยอดขายได้สูงเกือบ 4 หมื่นคันทั่วโลกในปีแรกที่ออกจำหน่าย

มินิโคมาเมะ F110 เปิดตัวเพื่อตอบความต้องการได้เครื่องไถนาที่มีขนาดเล็ก และเปลี่ยนรุ่นกลายเป็นรุ่น FG201 ขนาดเล็กน่าเอ็นดูเปิดตัวในปีค.ศ.2002 และได้รับการออกแบบใหม่เปิดตัวในปีค.ศ.2016

“โคมาเม F200” ได้สร้างความต้องการของตลาดใหม่คือตลาดเครื่องไถดินเพื่องานอดิเรก ทำให้ผู้ผลิตอื่นที่ทำเครื่องไถดินขนาดมินิออกมาต้องตั้งชื่อว่า “โคมามะของ OOO” แสดงถึงความเป็นตัวแทนของเครื่องไถดินมินิในวงการ บริษัทฯได้เปิดตัว “โคมาเม F220” ที่ได้รับการเปลี่ยนโมเดลเป็นรุ่นที่สามในซีรีส์เดียวกันในปีค.ศ.2001 และ และ “F220” รุ่นที่สี่ในปีค.ศ.2016 เป็นซีรีส์สุดฮิตที่สร้างยอดขายสะสมทั่วโลกได้ถึง 550,000 คัน (ณ ค.ศ.2016)

รุ่นซาลาดะFF300 ที่ใช้งานง่าย ให้สมรรถนะการไถนาสูง

ตลาดเพื่องานอดิเรกที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใหม่นี้ มีความต้องการที่หลากหลายทั้งในรูปแบบ “เครื่องไถดินขนาดเล็กน้ำหนักเบาราคาถูกมากขึ้น” จนถึง “เครื่องไถดินที่สามารถใช้กับงานไถได้ง่าย ถึงแม้ว่าจะมีราคาแพงก็ตาม” ทาง Honda จึงได้เปิดตัวจำหน่ายรุ่น “มินิโคมาเม F100” ในปีค.ศ.1993 ซี่งเป็นรถสำหรับคนเริ่มใช้งาน ขนาดเล็กน้ำหนักเบากว่าซีรีส์ “โคมาเม” และต่อเนื่องมายังรุ่น “พีไทท์ FG201” ที่เปลี่ยนโมเดลในปีค.ศ.2016

รุ่นเพียนต้า FV200 ที่สามารถถอดกระป๋องแก๊ส LPG ได้ง่าย

นอกจากนั้น ในปีค.ศ.2003 ได้ออกแบบให้เครื่องยนต์ที่ติดตั้งในรุ่น “โคมาเม F220” ที่มีศูนย์ถ่วงต่ำ ได้รับการตั้งเครื่องในทิศตรงข้ามกับศูนย์กลางของตัวถัง และติดตั้งโรตารี (ไบพัดหมุนตักดิน) ไว้ที่ด้านหน้าของตัวถัง ทำให้เดินเครื่องเส้นทางตรงใช้งานได้อย่างมั่นคง โดยเปิดตัวภายใต้ชื่อรุ่น “สลัด F300” ซึ่งเป็นเกรดสูงสุด โดยออกแบบให้จอบตักด้านในของฟรอนต์โรตารีหมุนรอบหน้า และจอบตักด้านนอกหมุนรอบกลับ ซึ่งเป็นระบบเฉพาะของ Honda ชื่อ ARS (Active Rotary System) ทำให้สามารถทำงานไถดินได้ความลึกที่คงที่เท่ากัน

และในปีค.ศ.2009 ได้เริ่มจำหน่ายรุ่น “เพียนต้า FV200” ที่ให้ความใส่ใจใน “การเก็บ” “การเติม” เชื้อเพลิงและ “วิธีขนย้าย” ของตัวเครื่อง ซึ่งได้จากการสังเกตุวิธีการใช้งานในงานอดิเรก

“เพียนต้า FV200” ใช้เชื้อเพลิงเป็นถังกระป๋องแก๊ส LPG ที่ให้ความอุ่นใจ ง่ายต่อการใช้งานเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำมันเบนซิน ไมว่าการ “จัดเก็บ” หรือ “เติม” เชื้อเพลิง เพียงนำถังกระป๋องแก๊สที่กำหนดไปติดตั้งไวในกล่องเฉพาะ ซึ่งมีโครงสร้างง่ายต่อการถอดประกอบเพียงหนึ่งสัมผัสเท่านั้น เครื่องยนต์เป็นแบบบเครื่องยนต์เบนซินที่ได้รับการพัฒนาจากรุ่น “พีไทท์ FG201” โดยติดตั้งวาล์วหาแรงดันที่จะหยุดเครื่องยนต์หากแรงดันในท่อสูงขึ้นผิดปรกติ พร้อมกับติดตั้งระบบความปลอดภัยเฉพาะที่มีวาล์วชัตออฟตัดการจ่ายเชื้อเพลิงโดยอัตโนมัติหากเครื่องยนต์หยุดทำงาน และได้ใส่ใจต่ออุณหภูมิภายนอกช่วงฤดูที่ใช้เครื่องไถดินบ่อยครั้ง เช่น ช่วงโรยเมล็ด โดยติดตั้งฟังก์ชันใหม่ เช่น ระบบเวเปอร์ไรเซอร์ที่จะนำความร้อนของควันเสียมาทำให้เชื้อเพลิงแก๊สเกิดการระเหยได้อย่างรวดเร็ว เป็นต้น

นอกจากนั้น ยังติดตั้งล้อสำหรับการผลักตัวถังเพื่อให้เคลื่อนย้ายได้โดยง่าย ติดตั้งฐานวางและกล่องขนย้ายเป็นมาตรฐานเพื่อให้ขนย้ายเข้าห้องเก็บสัมภาระหรือในห้องโดยสารของรถยนต์นั่งได้โดยว่าง เพื่อให้เป็นรุ่นที่เหมาะกับงานอดิเรก ไม่ว่า “เชื้อเพลิงใช้ง่าย” “เคลื่อนย้ายได้ง่าย” และ “เก็บบรรจุได้ง่าย

รุ่น “เพียนต้า FV200” ประสบความสำเร็จในการสร้างความต้องการใหม่ขึ้นมา โดยโดยลูกค้าที่ซื้อไปถึง 90 %เป็นกลุ่มลูกค้าเป็นที่ซื้อเครื่องไถดินเป็นครั้งแรก

เครื่องไถดินของ Honda ที่มีธรรมชาติเป็นเป้าหมาย เพราะต้องทำการตักไถดิน ได้ผ่านมาตรฐานควันเสียของสหรัฐอเมริกา ที่ได้ชื่อว่าเข้มงวดที่สุดในโลก รวมถึงมาตรฐานเสียงรบกวนของยุโรปด้วย อีกทั้งมีสมรรถภาพทางสิ่งแวดล้อมสูง เพราะประหยัดเชื้อเพลิงได้ดีที่สุดในระดับรุ่นเดียวกัน

เครื่องไถดินของ Honda ที่เริ่มจากรุ่น “F150” ซึ่งออกแบบมาเพื่อต้องการลดภาระงานของเกษตรกร ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นตามความต้องการของเกษตรกร เป็นขุมกำลังให้เกิดความแพร่หลาย และเติบโตไปพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมด้านเกษตรกรรม และ Honda จะสร้างความท้าทายในด้านเครื่องไถดินขนาดเล็กพิเศษสำหรับงานอดิเรกที่ไม่มีผู้ผลิตที่ไหนให้ความสำคัญ เพื่อส่งต่อความสนุกสนานในการไถพรวนดิน สู่ผู้คนส่วนใหญ่ต่อไป

หากไม่มีรุ่น F150 หากไม่มีซีรีส์โคมาเม ความท้าทายที่ได้จากไอเดียและเทคโนโลยีที่คล่องตัว อันเกิดขึ้นได้เฉพาะใน Honda เท่านั้น เพราะเราเป็นผู้ผลิตเครื่องยนต์ ไม่ได้เป็นผู้ผลิตเครื่องจักรเพื่อการเกษตรเฉพาะมาก่อน สิ่งเหล่านี้ ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงให้เกิดขึ้นในเกษตรกรรม

เครื่องกวาดหิมะ

ประเทศญี่ปุ่นมีภูมิประเทศกว่าครึ่งเป็นพื้นที่หิมะตกทับถมหนัก และต้องใช้แรงงานคนในการกวาดหิมะ เมื่อเข้าทศวรรษ 1960 ความแพร่หลายของการใช้รถยนต์เป็นพาหนะได้กระจายความเจริญเข้ามาในพื้นที่หิมะตกทับถมหนักที่แต่เดิมต้องใช้ม้าลากเลื่อนเป็นพาหนะในการขนส่ง จึงเริ่มมีการนำเครื่องกวาดหิมะมาใช้แพร่หลายมากขึ้นเพื่อกวาดหิมะตามถนนสายหลัก

เครื่องกวาดหิมะในสมัยนั้น เป็นเครื่องจักรเพื่องานอุตสาหกรรมมีขนาดใหญ่ เสียงดัง การควบคุมใช้งานมีความยุ่งยาก ตามบ้านเรือนทั่วไปจึงใช้แรงคนในการกวาดหิมะกันอยู่เหมือนเดิม อย่างไรก็ตาม ในช่วงเศรษฐกิจขยายตัวอย่างรวดเร็ว คนหนุ่มสาวเดินทางเข้าไปทำงานในเมืองใหญ่ และช่วงที่ไม่ได้ทำการเกษตร เกษตรกรจะเข้าไปทำงานหาเงินในเมืองใหญ่ ส่งผลให้ประชากรพื้นที่หิมะตกทับถมหนักมีจำนวนน้อยลงไปเรื่อย ๆ ผู้สูงอายุ ผู้หญิง และเด็ก ๆ ที่เหลืออยู่ต้องทำงานหนักในการกวาดหิมะด้วยการใช้แรงของตัวเอง

ในขณะนั้น เมื่อหันมามองที่พื้นที่หิมะตกทับถมหนักของอเมริกา ซึ่งแต่ละครัวเรือนมีรถยนต์ใช้งานบ้านละ 1 ครั้งเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว พบว่ามีเครื่องกวาดหิมะขนาดเล็กใช้ในบ้านกันอย่างแพร่หลายแล้ว กลางทศวรรษ 1970 ได้มีการนำเข้าเครื่องกวาดหิมะเหล่านี้เข้ามาจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น แต่ไม่สามารถใช้กับหิมะของประเทศญี่ปุ่นได้ เพราะหิมะญี่ปุ่นหนักมีความชื้นสูง ต่างจากหิมะของอเมริกาที่เป็นหิมะเบา

ในยุคนั้น Honda ได้พัฒนาและจำหน่ายเครื่องจักรเพื่อการเกษตร และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าออกมาหลายรุ่น โดยดำเนินธุรกิจที่อาศัย “บทบาทของเครื่องจักรเอนกประสงค์ที่สามารถเป็นเครื่องจักรทุ่นแรงแทนการทำงานหนัก” จึงเป็นที่มาของการพัฒนาวิจัยเครื่องกวาดหิมะในปีค.ศ. 1978 เพราะ “ถ้ามีเครื่องกวาดหิมะ จะทุ่นแรงในการทำงานหนักได้”

อย่างไรก็ตาม ในประเทศญี่ปุ่นก็มีลักษณะของหิมะที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ เช่น หิมะปุยเบามีความชื้นต่ำในฮอกไกโด ในขณะที่หิมะของพื้นที่ติดกับทะเลญี่ปุ่นทางตะวันตกเป็นหิมะความชื้นสูงมีน้ำหนัก นอกจากนี้ สภาพของหิมะยังมีความแตกต่างกัน เช่น หิมะใหม่ หิมะอัด หิมะตกจากหลังคาทับถมกันเป็นน้ำแข็งเกาะ ในการพัฒนาเครื่องกวาดหิมะของ Honda จึงได้ทำการสำรวจหิมะต่าง ๆ ไม่เพียงแต่ในประเทศญี่ปุ่น แต่ยังไปถึงแคนาดา และพื้นที่ใกล้ขั้วโลกเหนือ เป็นต้น

เครื่องกวาดหิมะรุ่นสโนเรอร์ HS35 เครื่องแรกของ Honda ที่ใช้งานได้ง่าย ช่วยทุ่นแรงในการกวาดหิมะ

ในที่สุด Honda ได้เริ่มจำหน่ายเครื่องกวาดหิมะขนาดเล็กเครื่องแรกรุ่น “สโนเรอร์ HS35” ออกมาในปีค.ศ.1980 โดยมีกลไกของการกวาดหิมะด้วยสว่าน “ออเกอร์” และใช้ใบพัดที่เรียกว่า “โบรเวอร์” ที่จะพ่นหิมะออกไปภายนอก กลไกนี้เป็นระบบโรตารีที่มีอยู่ทั่วไป ได้ถูกนำมาออกแบบให้สามารถใช้งานกับเครื่องกวาดหิมะที่แต่เดิมมีความยุ่งยากในการใช้งาน ให้สามารถใช้งานได้ง่าย กล่าวคือ เมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์แล้ว เพียงจับคันคลัชที่อยู่บนคันมือจับ ก็สามารถกวาดและพ่นหิมะได้ และยังสามารถกวาดหิมะได้ปริมาณมากถึง 30 ตันต่อชั่วโมง ซึ่งไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน อีกทั้ง เมื่อปล่อยคลัชแล้ว สว่าน “ออเกอร์”จะหยุดทำงาน เครื่องกวาดจะหยุดเคลื่อนที่ แสดงให้เห็นถึงการใส่ใจด้านความปลอดภัย ยิ่งไปกว่านั้น ในฤดูกาลที่ไม่ต้องใช้งาน ก็สามารถพับเก็บคันมือจับเข้ากับเครื่อง ทำให้มีขนาดกระทัดรัดจัดเก็บได้คล่องตัว นอกจากนั้น ด้วยน้ำหนักเบาเพียง 45 กิโลกรัม จึงทำให้ “สโนเรอร์ HS35” ช่วยให้การทำงานหนักในช่วงฤดูหนาวที่อากาศหนาวเย็นไม่เป็นภาระอีกต่อไป

S35A ที่จำหน่ายในปีต่อมามีประสิทธิภาพการทำงานที่สูงขึ้น ด้วยการติดตั้งโครเลอร์

ปัญหาต่อไปที่ Honda หันมาแก้ไขคือการพัฒนาเครื่องกวาดหิมะที่สามารถทำงานได้ในพื้นที่กว้างขึ้น และใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เครื่องกวาดหิมะไม่ใช่ว่าจะติดตั้งเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ลงบนตัวถังขนาดใหญ่ แล้วจะสามารถกวาดหิมะได้เป็นจำนวนมาก เพื่อให้การกวาดหิมะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ Honda ได้หันมาจับตามองการเปลี่ยนความเร็วรถกวาดตามโหลดการกวาด (หรือปริมาณหิมะ) และจุดที่จะพ่นหิมะทิ้ง และได้พัฒนาเทคโนโลยีเฉพาะทาง เพื่อใช้กับการปรับเปลี่ยนความเร็วรถกวาด หากสว่าน “ออเกอร์” กวาดหิมะเข้ามาเป็นจำนวนมาก จะทำให้โหลดการกวาดเพิ่มขึ้น รอบหมุนเครื่องยนต์จะช้าลง ทำให้เครื่องยนต์หยุดหรือรถกวาดเกยไปบนกองหิมะได้ ในกรณีเช่นนี้ จำเป็นต้องปรับความเร็วรถกวาดให้เหมาะสม เพื่อช่วยลดโหลดการกวาดให้น้อยลง ทำให้รอบหมุนเครื่องยนต์เพิ่มขึ้นได้

สโนเรอร์ HS70 ที่ติดตั้งเกียร์เดินหน้า 3 เกียร์และเกียร์ถอยหลัง 1 เกียร์

สโนเรอร์ HS870 ที่ติดตั้งกลไก HST

เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ในปีค.ศ. 1980จึงได้เริ่มจำหน่าย “สโนเรอร์ HS70” ซึ่งติดตั้งระบบเกียร์เดินหน้า 3 เกียร์ และถอยหลัง 1 เกียร์ สามารถควบคุมคลัชให้เปลี่ยนความเร็วได้ 3 ระดับ ทำให้ควบคุมความเร็วของรถกวาดได้ง่ายขึ้น อีกทั้ง ในปีค.ศ. 1989 ได้เริ่มจำหน่าย “สโนเรอร์ HS870S/660S” ซึ่งติดตั้งระบบส่งถ่ายกำลังแบบไฮโดรสตาติก หรือ HST (Hydrostatic Transmission) การติดตั้งระบบ HST นี้ ทำให้ไม่ต้องควบคุมคลัช เพียงใช้งานคันมือจับ ก็สามารถเดินหน้าถอยหลัง และปรับความเร็วของรถกวาดแบบไร้รอยต่อได้

เครื่องกวาดหิมะสโนเรอร์ i HS1390i รุ่นไฮบริดรุ่นแรกของโลก

และในปีค.ศ.2001 ได้เริ่มจำหน่ายเครื่องกวาดหิมะขนาดกลางรุ่น “สโนเรอร์ i HS1390i” ซึ่งเป็นเครื่องกวาดหิมะรุ่นแรกของโลกที่ใช้ระบบไฮบริด โดยระบบไฮบริดนี้ประกอบด้วยเครื่องยนต์ที่จะทำงานในส่วนการกวาดหิมะ และระบบมอเตอร์ซ้ายขวา 2 ตัวจะทำงานในการขับเคลื่อนรถกวาด และในระหว่างที่ใช้งาน ระบบ ECU (ยูนิตควบคุมระบบคอมพิวเตอร์) จะวัดขนาดโหลดที่ทำกับเครื่องยนต์ เพื่อปรับความเร็วในการขับรถกวาดให้เหมาะสม นอกจากนี้ ด้วยการนำระบบมอเตอร์มาใช้งาน จึงสามารถเคลื่อนที่รถกวาดและขับเลี้ยวได้อย่างคล่องตัว

เครื่องกวาดหิมะสโนเรอร์ iHSM1590i รุ่นไฮบริดที่วิวัฒนาการเพิ่มขึ้นกว่าเดิม

ยิ่งกว่านั้น เครื่องกวาดหิมะขนาดกลางรุ่น “HSMI1590i” ที่จำหน่ายในปีค.ศ.2005 เป็นเครื่องแรกของโลกที่ติดตั้งเครื่องยนต์ยุคใหม่ iGX ที่มาพร้อมกับระบบควบคุม ECU การที่นำระบบ ECU มาใช้ในการควบคุมระบบเครื่องยนต์นี้ จะทำให้มอเตอร์ไฟฟ้า(ของรถกวาด) กับระบบ ECU ทำการสื่อสารกันและกัน ทำให้ปรับความเร็วรถกวาดได้อย่างว่องไวไม่มีการเสียเวลา

 อีกทั้ง ยังติดตั้งไดอัลที่สามารถเลือกได้ 3 โหมดการใช้งาน ทั้งโหมดอัตโนมัติที่จะทำการควบคุมความเร็วรอบของเครื่อยนต์และการเดินรถกวาดแบบอัตโนมัติ หรือโหมดพาวเวอร์ที่จะให้การทำงานแบบเต็มกำลัง โดยคงรักษากำลังจากเครื่องยนต์ไว้ที่ระดับสูงสุด และโหมดแมนนวลที่จะสามารถใช้งานแบบควบคุมด้วยตัวเองเหมือนที่ผ่านมาได้ สามารถเลือกใช้ได้ตามรายละเอียดการใช้งานและทักษะการใช้ ทั้งผู้ที่เชี่ยวชาญและผู้ใช้งานเป็นครั้งแรก

ในด้านการพ่นหิมะ Honda ได้นำกลไกการทำงานใหม่ที่หลากหลายมาใช้งาน เครื่องกวาดหิมะแบบโรตารีจะใช้กำลังเครื่องยนต์ประมาณ 70 % กับใบพัด “โบรเวอร์” ประเด็นสำคัญในการพ่นหิมะคือจะต้องพ่นไปตกอยู่ที่จุดที่ต้องการ โดยตรวจสอบความปลอดภัยของบริเวณรายรอบอยู่ตลอดเวลา ด้วยการปรับทิศทางและระยะทางของการพ่นหิมะนั้น เครื่องกวาดหิมะ “รุ่นสโนเรอร์ HS70” ที่เริ่มจำหน่ายปีค.ศ. 1984 เป็นระบบ 2 สเตจ ที่แยกฟังก์ชันสว่าน “ออเกอร์” กับใบพัด “โบรเวอร์” ออกจากกัน ทำให้พ่นหิมะได้ระยะไกลขึ้นเป็น 12 เมตร และเครื่องกวาดหิมะรุ่น “HS870S/660S” ที่จำหน่ายในปีค.ศ.1989 ได้ติดตั้งชูตเตอร์ไฟฟ้าควบคุมการทำงานทั้งหมดได้ด้วยรีโมทคอนโทรล ที่สามารถใช้คันจับเดียวในการปรับทิศทางและมุมการพ่นหิมะได้อย่างแม่นยำ ซึ่งมาพร้อมกับช่องพ่นหิมะรูปทรงเหลี่ยมแบบใหม่ ที่ทำให้ระยะทางการพ่นหิมะไกลเพิ่มมากขึ้น และรุ่นใหม่ล่าสุด “HSL2511” ที่จำหน่ายในปีค.ศ. 2017 ซึ่งเป็นรุ่นปัจจุบัน ที่ขยายระยะทางการพ่นหิมะไปได้ไกลถึง 26 เมตร

ยิ่งกว่านั้น เครื่องกวาดหิมะรุ่นไฮบริดที่สามารถปรับความเร็วรถกวาดได้อัตโนมัติ จึงทำให้ผู้ใช้งานสามารถตั้งสมาธิเฉพาะกับการพ่นหิมะได้ จึงทำให้ความปลอดภัยและประสิทธิภาพการใช้งานดีขึ้น นอกจากนั้น การควบคุมระบบเครื่องยนต์ด้วย ECU ทำให้สามารถควบคุมความเร็วรอบของเครื่องยนต์ให้คงที่ และรักษาระยะทางการพ่นหิมะได้ด้วย จึงทำให้การกวาดหิมะเป็นเรื่องที่ง่าย ไม่จำเป็นต้องปรับระยะทางการพ่นหิมะ ที่แต่เดิมต้องคอยปรับแบบแมนนวล

นอกจากข้างต้นแล้ว ที่ผ่านมา Honda ได้เพิ่มฟังก์ชันใหม่ และกลไกใหม่เข้ากับเครื่องกวาดหิมะมาโดยตลอด

เครื่องกวาดหิมะรุ่น HSS760nJX ที่มีศักยภาพกวาดหิมะสูงขึ้น โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีของเครื่องไถนา

เครื่องกวาดหิมะรุ่น “HSS760nJX/ HSS970nJX/ HSS1170nJX” ที่จำหน่ายในปีค.ศ. 2013 เป็นรุ่นแรกของโลกที่ติดตั้งสว่าน “ครอสออเกอร์” โดยสว่าน “ครอสออเกอร์” นี้ได้ประยุกต์ระบบการหมุนสวนทางของ “โรตารี (คันไถ)” ด้านในกับด้านนอกซึ่งได้รับการพัฒนาใช้กับเครื่องไถนาระบบฟรอนต์โรตารีรุ่น “สลัด” ของ Honda โดยนำกลไกนี้มาใช้กับสว่าน “ออเกอร์” ทั้งนี้ ที่ผ่านมา เมื่อใช้รถกวาดหิมะกับหิมะที่ตกจากหลังคาแล้วเกาะตัวแข็งอยู่ สว่าน “ออเกอร์” จะถูกแรงกระทำกลับเมื่อกวาดหิมะไม่เข้า ทำให้รถกวาดหิมะลอยตัว ดังนั้น ในการกวาดหิมะลักษณะนี้ ต้องเดินหน้าและถอยหลังเครื่องกวาดหิมะซ้ำกันหลายครั้ง เพื่อกวาดหิมะให้ได้ด้วยสว่าน “ออเกอร์” แบบเดิม แต่ถ้าเป็นสว่าน “ครอสออเกอร์” จะหมุนเดินหน้าและหมุนถอยหลังเพื่อลดแรงกระทำกลับเมื่อกวาดหิมะไม่เข้าให้หมดไป ทำให้รถกวาดไม่ลอยตัว สามารถกวาดหิมะที่เกาะแข็งตัวได้โดยไม่มีปัญหากวาดไม่เข้าทำให้รถกวาดลอยตัว

Honda ได้เปิดตัวสายผลิตภัณฑ์สำหรับรถกวาดหิมะขนาดใหญ่รุ่น “สโนว์ไฟเตอร์ HS2512Z” ขึ้นในปีค.ศ. 1995 ซึ่งมีศักยภาพการกวาดหิมะได้มากสุดในระดับรถกวาดหิมะเดียวกัน

เครื่องกวาดหิมะขนาดใหญ่รุ่น HSL2511 ที่ติดตั้งฟังก์ชันออเกอร์แอสซิตรุ่นแรกของโลก

และรุ่นใหม่ล่าสุดคือรุ่น “HSL2511” ที่เริ่มจำหน่ายตั้งแต่ปีค.ศ. 2013 เป็นเครื่องกวาดหิมะติดตั้งระบบสมาร์ทออเกอร์ ซึ่งประกอบด้วย 3 ฟังก์ชันต่อไปนี้ในระบบ ฟังก์ชันออเกอร์ลิฟต์ที่ติดตั้งมาตั้งแต่รถกวาดหิมะขนาดกลางรุ่น “HSM1590i” ซึ่งออกจำหน่ายในปีค.ศ. 2005 ด้วยระบบนี้ เมื่อปรับคันโยกให้เดินรถกวาดถอยหลัง จะยกสว่าน “ออเกอร์” ขึ้นอัตโนมัติ และลดระดับให้กลับมาที่เดิมเมื่อปรับคันโยกให้รถกวาดเดินหน้า นอกจากนั้น ยังมีฟังก์ชันออเกอร์รีเซ็ต ที่สามารถตั้งตำแหน่งของสว่าน “ออเกอร์” หรือตั้งออเกอร์ให้ระนาบได้ใหม่ด้วยการกดเพียงปุ่มเดียว และฟังก์ชันออเกอร์แอสซิต ที่ใช้งานในขณะที่รถกวาดเอียงตัว แล้วทำให้สว่าน “ออเกอร์” เอียงซ้ายขวาบนล่าง ฟังก์ชันนี้จะปรับตำแหน่งอัตโนมัติ ทำให้สว่านมีระดับเข้าระนาบผิวหิมะที่ต้องการกวาดได้ และเป็นเครื่องกวาดหิมะใช้เครื่องยนต์เบนซินเครื่องแรกของโลกที่ติดตั้งระบบฉีดเชื้อเพลิง ทำให้สามารถสตาร์ทเครื่องได้อย่างคล่องตัวในอุณหภูมิต่ำ และประหยัดน้ำมันไปพร้อมกันได้

นอกจากนั้น ยังได้เพิ่มสายผลิตภัณฑ์ด้วยเครื่องกวาดหิมะแบบดันและเก็บหิมะขนาดเล็กน้ำหนักเบาแบบใบมีดรุ่น “ยูคิออส SB800” ที่ใช้ในการกวาดหิมะของภูมิภาคที่มีหิมะตกน้อยไม่สามารถพ่นหิมะได้ และเครื่องกวาดหิมะแบบใบมีดใช้ไฟฟ้ารุ่น “ยูคิออสe” ที่เหมาะกับการใช้งานในเวลากลางคืนหรือในเขตชุมชนที่อยู่อาศัยที่ต้องการความเงียบสงบ และสามารถเสียบเต้าเสียบตามบ้านในการใช้งานได้ด้วย

เครื่องกวาดหิมะของ Honda ใส่ใจต่อเสียงของผู้ใช้อยู่เสมอ จึงได้รับการวิวัฒนาการให้ใช้งานได้ง่ายขึ้นกับงานที่ยากด้วยเทคโนโลยีของเรา อีกทั้งยังเงียบสงบ ปลอดภัย และคงทน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเหมือนกับผลิตภัณฑ์ Power Product อื่น ทำให้เครื่องกวาดหิมะสีแดงสดของ Honda ครองสัดส่วนเป็นอันดับหนึ่งในตลาดประเทศญี่ปุ่นมาโดยตลอด

เครื่องกวาดหิมะระบบไฟฟ้ารุ่นยูคิออส e ที่สามารถชาร์จไฟฟ้าจากเต้าเสียบตามบ้านได้

เครื่องสะพายมือ

เครื่องสะพายมือที่ใช้กันแพร่หลายไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นเครื่องตัดหญ้า เลื่อยโซ่ ใบพัดโบรเวอร์ และเครื่องพ่น เป็นต้น เป็นชื่อเรียกเครื่องใช้งานที่มาพร้อมกับระบบให้แรงแบบเครื่องยนต์หรือด้วยมอเตอร์ ที่ผู้ใช้ต้องคล้องสะพายในการใช้งาน เป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ มียอดจำหน่ายทั่วโลกถึง 40 ล้านเครื่อง ทั้งนี้ 47 % ของทั้งหมดถูกครองด้วยเครื่องตัดหญ้า (ข้อมูล ณ ค.ศ.2013)

เครื่องยนต์ที่ติดตั้งมากับเครื่องสะพายมือนี้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้งานตามบ้านหรือเครื่องใช้กับงานธุรกิจ จะต้องจำกัดน้ำหนักและปริมาตรของเครื่องยนต์ ให้มีขนาดกระทัดรัดและน้ำหนักเบา ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญของเครื่อง

เครื่องยนต์เอนกประสงค์รุ่น “รุ่น H” รุ่นแรกของ Honda ที่จำหน่ายในปีค.ศ.1953 ก็เป็นเครื่องยนต์ 2 สูบใช้กับเครื่องพ่นละอองแบบสะพายหลัง ซึ่งถือเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์เดียวกับเครื่องสะพายมือ เครื่องยนต์ “รุ่น H” ได้รับการพัฒนาให้มีน้ำหนักเบาขนาดกระทัดรัดเพื่อทุ่นแรงของคนงาน โดยใช้ชิ้นส่วนขึ้นรูปด้วยวิธีไดคาสต์อลูมิเนียมที่ถือว่าล้ำสมัยมากในยุคนั้น เป็นการปูแนวทางการพัฒนาให้เครื่องยนต์สายพานมีน้ำหนักเบา

อย่างไรก็ตาม เครื่องยนต์เอนกประสงค์ของ Honda ตั้งแต่ “รุ่น T” ที่จำหน่ายในปีถัดไปเป็นต้นมา ได้ถูกนำไปใช้เป็นเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเครื่องจักรเพื่อการเกษตร จึงเป็นการผลิตเครื่องยนต์แบบ 4 สูบที่เน้นด้านการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง ทำให้เราไม่ได้ผลิตเครื่องยนต์สำหรับเครื่องสะพายมือออกมาจำหน่ายเลย

เครื่องยนต์สำหรับเครื่องสะพายมือในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ยังเป็นเครื่องยนต์ 2 สูบที่มีโครงสร้างง่าย จำนวนชิ้นส่วนน้อย และสามารถผลิตให้มีน้ำหนักเบาขนาดกระทัดรัดได้ง่าย ทั้งนี้เพราะว่า โครงสร้างการหล่อลื่นด้วยน้ำมันเบนซินผสมที่เป็นคุณสมบัติเฉพาะของเครื่องยนต์ 2 สูบที่ต้องทำงานได้ในทุกสรีระร่างกายยามใช้งาน เป็นไปตามความต้องการของเครื่องสายสะพานนั่นเอง เครื่องยนต์ 2 สูบจะได้รับการหล่อลื่นด้วยเชื้อเพลิงผสมระหว่างน้ำมันเครื่องยนต์กับน้ำมันเบนซิน ดังนั้น ถึงแม้ว่าเครื่องยนต์จะตั้งเอียงมาก แต่จะไม่เกิดปัญหาห้องเครื่องยนต์ไหม้ ในขณะที่ เครื่องยนต์ 4 สูบมีโครงสร้างการหล่อลื่นด้วยน้ำมันเครื่องยนต์ที่เก็บไว้ในห้องข้อเหวี่ยง หากใช้งานในสรีระที่ต้องเอียงเครื่องยนต์มากกว่า 30 องศา จะมีปัญหาการหล่อลื่นด้วยน้ำมันไม่ได้ เกิดปัญหาห้องเครื่องยนต์ไหม้ในที่สุด นอกจากนี้ ยังมีโครงสร้างที่ต้องมีวาล์วทำงาน ซึ่งมีความซับซ้อน ดังนั้น หากมองในด้านขนาดและน้ำหนักแล้ว เครื่องยนต์ 4 สูบจึงถูกมองว่าไม่เหมาะสมในการใช้งานกับเครื่องสะพายมือ

จากเหตุผลข้างต้น เครื่องยนต์ 2 สูบจึงมีจุดเด่นกว่าในเรื่องน้ำหนักและสมรรถนะเครื่องยนต์ แต่มีปัญหาอื่น เช่น ประสิทธิภาพการเผาไหม้ที่ต่ำ เสียงดัง มีแรงสั่นสะเทือน ควัยเสียที่มีกลิ่นเฉพาะตามมาด้วยควันขาว เป็นต้น จึงมีความต้องการที่จะปรับปรุงอยู่เสมอ อีกทั้ง ในปีค.ศ. 1996 คณะกรรมการทรัพยากรอากาศของคาลิฟอร์เนีย หรือ CARB (California Air Resources Board) แห่งสหรัฐอเมริกา ได้ออกประกาศบังคับควันเสียสำหรับเครื่องยนต์ขนาดเล็กไม่ใช้กับยานพาหนะหรือ SORE (Small Off-Road Engine) ขึ้น ทำให้จำเป็นต้องติดตั้งเครื่องกรองควันเสียที่ทำจากแคตาลิสต์ควันเสีย ให้กับเครื่องยนต์ 2 สูบที่ด้อยคุณภาพด้านควันเสีย

ด้วยประกาศบังคับควันเสียที่ออกมานี้ จึงเป็นจุดเริ่มให้ Honda หันมาพัฒนาเครื่องยนต์ 4 สูบสำหรับเครื่องสะพายมือ โดยมุ่งหวังที่ “ได้ใช้เทคโนโลยี 4 สูบช่วยมนุษยชาติ โลก และอนาคต” จนประสบความสำเร็จในการพัฒนาเครื่องยนต์ที่เรียกชื่อว่า “M4-1” (เครื่องยนต์มินิ 4 สูบรุ่นที่ 1) โดยตั้งเป้าหมายการพัฒนาว่า “ให้ใช้งานได้ง่ายระดับเดียวกับเครื่องยนต์ 2 สูบ”

ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเครื่องยนต์ 4 สูบขนาดเล็กมากด้วยเทคโนโลยีของ Honda

เรื่องน้ำหนักที่เป็นปัญหาสำคัญของเครื่องยนต์ 4 สูบนั้น ได้รับการแก้ไขด้วยการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น การพัฒนาให้ชิ้นส่วนวาล์วมีขนาดเล็กและน้ำหนักเบาด้วย “1 โคมาแคมเรซิน OHV” และการยกเลิก FC สลีบ การใช้ “ยูนิบล็อกกระบอบสูบแบบไร้สลีบน้ำหนักเบา” ที่ใช้อลูมิเนียมไฮซิลิคอน เป็นต้น จนได้น้ำหนักก่อนเติมน้ำมันที่ 3.3 กิโลกรัม ซึ่งมีน้ำหนักเบาและขนาดเล็กระดับเดียวกับเครื่องยนต์ 2 สูบ ในส่วนของโครงสร้างการหล่อลื่นที่เป็นปัญหาใหญ่สุดนั้น ได้คิดค้น “ระบบหล่อลื่นน้ำมันโรตารีสลิงเกอร์ปั๊มป์ปิง” จนประสบผลสำเร็จ โดยใช้ระบบการหล่อลื่นน้ำมันแบบ Dry Sump ที่แยกระหว่างห้องข้อเหวี่ยงกับห้องน้ำมันออกจากกัน เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำมันไหลเข้าไปในห้องเผาไหม้ ไม่ว่าเครื่องยนต์จะอยู่ในตำแหน่งใดของสรีระการใช้งานใดก็ตาม โดยออกแบบห้องน้ำมันให้เป็นแบบทรงกระบอกอยู่ด้านข้างของห้องข้อเหวี่ยง แล้วใช้ใบพัดกวนที่ต่อตรงเข้ากับแกนข้อเหวี่ยงซึ่งผ่านศูนย์กลางนั้น เป็นตัวกวนน้ำมันเครื่องให้เป็นละออง แล้วละอองดังกล่าวจะถูกดูดและวนกลับผ่านรูรับน้ำมันที่เปิดให้กับแกนข้อเหวี่ยงของศูนย์กลางของห้องน้ำมัน ด้วยแรงดันจากภายในห้องข้อเหวี่ยงซึ่งเป็นแรงดันที่เกิดขึ้นเมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นลง ด้วยเทคโนโลยีใหม่นี้ จึงประสบความสำเร็จในการพัฒนาเครื่องยนต์ 4 สูบเครื่องแรกของโลกที่สามารถทำงานได้อย่างเสรี แม้จะถูกเอียงเครื่องยนต์ 360 องศาก็ตาม นอกจากนั้น ยังผ่านการทดสอบได้ค่าควันเสียต่ำกว่ามาตรฐานของ CARB และมาตรฐานควันเสียของกระทรวงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหรือ EPA แห่งสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างมาก โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งดีไวซ์ขจัดควันเสียเป็นการเพิ่มเติมได้อีกด้วย นอกจากนี้ ยังให้การประหยัดเชื้อเพลิงที่ดียิ่ง แสดงให้เห็นถึงสมรรถนะเครื่องยนต์ของ Honda ที่รองรับด้านสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี

เครื่องยนต์ M4-1 ได้เริ่มออกจำหน่ายในปีค.ศ. 1997 กับเครื่องยนต์ “GX22 (22.2cc 1ps/7000rpm)” และเครื่องยนต์ “GS31 (31cc 1.5 ps/7000rpm)” นำไปติดตั้งใช้กับเครื่องสะพายมือของ Honda เช่น เครื่องตัดหญ้า “มารุคาริ UMK422/431” เครื่องตัดหญ้าสะพายหลัง “มารุคาริ UMR422/431” เครื่องพ่นละอองสารเคมีแบบสะพายหลัง “WJR2210/2215/2225” เป็นต้น

เครื่องตัดหญ้า “มารุคาริ 4 UMK422 / UMR422”

เครื่องพ่นละอองแบบสะพายหลังรุ่น “WJR2210”

เมื่อเริ่มจำหน่ายกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องสะพายมือ Honda นี้ ได้จำหน่ายพร้อมกับแว่นนิรภัย (โกเกิล) ซึ่งเป็นอุปกรณ์จำเป็นในการใช้งานเครื่องตัดหญ้า แสดงความเป็นผลิตภัณฑ์ที่ให้ความห่วงใยด้านความปลอดภัยของผู้ใช้งาน จนกลายเป็นมาตรฐานการจำหน่ายของวงการในที่สุด ด้วยการบรรจุโกเกิลให้เป็นอุปกรณ์จำหน่ายร่วมกับเครื่องตัดหญ้าในปัจจุบัน แต่ทาง Honda ได้ใส่ใจในมาตรการความปลอดภัยมาตั้งแต่เริ่มแรกของการจำหน่ายเครื่องตัดหญ้า

เครื่องยนต์ GX25 ที่ประสบความสำเร็จด้านขนาดเล็กน้ำหนักเบา ด้วยกลไกต่าง ๆ เช่น โครงสร้าง OHC

เครื่องสะพายมือใช้เครื่องยนต์ 4 สูบรุ่น “GX22/31” รุ่นแรกของ Honda ได้รับการจำหน่ายแบบ OEM ให้กับผู้ผลิตเครื่องสะพายมือจำนวนมาก จนกลายเป็นสินค้ายอดฮิตที่ทำยอดจำหน่ายสะสมได้มากกว่า 1.2 ล้านเครื่อง

หลายปีให้หลังจากจำหน่ายเครื่อง M4-1 เพื่อตอบสนองความต้องการด้านน้ำหนักเบาและกำลังที่แรงมากขึ้น Honda ได้เริ่มพัฒนาเครื่องยนต์ที่ชื่อว่า “M4-0” ที่ให้กำลังมากขึ้น และมีน้ำหนักเบาขนาดเล็กกว่าเดิม ทั้งนี้ ในการพัฒนาให้มีขนาดกระทัดรัดและน้ำหนักเบา ได้นั้น นอกจากขนาดและน้ำหนักแล้ว จำเป็นต้องทบทวนตำแหน่งห้องน้ำมันและห้องวาล์วที่ถือว่าขาดไม่ได้สำหรับเครื่องยนต์ 4 สูบ จึงได้คิดค้นการจัดวางที่จะรวมทั้งสองห้องเข้าด้วยกัน พร้อมกับนำเอา “สายพานไทม์มิงในน้ำมันขนาดเล็กที่สุดในโลก” ที่ได้พัฒนาขึ้นมาใหม่ ไปวางติดตั้งกับโครงสร้าง OHC อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของ Honda เพื่อให้ได้โครงสร้างเครื่องยนต์ที่แปลกใหม่ไม่เคยมีที่ไหนมาก่อน พร้อมกับเพิ่มขนาดกระบอกสูบ (จาก 22.2cc เป็น 25cc) ส่งผลให้สัดส่วนน้ำหนักต่อกำลังดีขึ้นถึง 30 % (เทียบกับเครื่องยนต์ M4-1) ทำให้ประสบความสำเร็จในการสร้างผลิตภัณฑ์ให้ดีเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ เพื่อรองรับมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม เครื่องยนต์ใหม่นี้ได้ผ่านมาตรฐานควันเสียเครื่องยนต์จุดระเบิดขนาดเล็กไม่ใช้ในยานพาหนะหรือ NRSI (Small Nonroad Spark-Ignition “Engine”) Phase2 ของกระทรวงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหรือ EPA (Environmental Protection Agency) แห่งสหรัฐอเมริกา โดยได้ค่าต่ำสุดในเครื่องยนต์ระดับเดียวกัน และยังผ่านมาตรฐานควันเสียเครื่องยนต์พกพาไม่ใช้ในยานพาหนะหรือ NRMM (Non-road Mobile Machinery) Stage 2 (เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ค.ศ.2007) ตามประกาศของ EC และมาตรฐานสมัครใจขั้นที่ 2 ของเครื่องยนต์สันดาปภายในใช้บนบกของญี่ปุ่น (บังคับใช้ค.ศ. 2011) ได้ก่อนล่วงหน้าการบังคับใช้จริง แสดงให้เห็นถึงสมรรถนะด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีเยี่ยม

เครื่องยนต์ M4-0 ได้ออกจำหน่ายในปีค.ศ. 2002 กับเครื่องยนต์รุ่น “GX25 (25cc 0.81kw [1.1ps]/7000 rpm)” และในปีถัดมา (ค.ศ.2003)ได้ออกเกรดบนรุ่น “GX35 (35cc 1.2kw[1.6ps]/7000rpm)” โดยถูกนำไปติดตั้งกับผลิตภัณฑ์เดิมเช่นเครื่องตัดหญ้า เครื่องพ่นละออง และผลิตภัณฑ์ใหม่คือโบรเวอร์สะพาย “HHB25” (เริ่มจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นเมื่อปีค.ศ.2016)

โบรเวอร์สะพาย “HHB25”

และยังได้ขยายการจำหน่ายเครื่องยนต์ M4-0 แบบ OEM ให้กับผู้ผลิตอื่น ๆ นอกจาก Honda ทั้งนี้ นอกจากถูกนำไปใช้กับเครื่องสะพายมือแล้ว ยังถูกนำไปใช้งานต่าง ๆ ที่หลากหลาย เช่นเครื่องไถนาขนาดเล็กหรือเครื่องสูบน้ำใช้ตามบ้าน รวมถึงเครื่องกระทุ้งดินที่ใช้งานก่อสร้าง เป็นต้น จนถึงปีค.ศ. 2017 เครื่องยนต์ GX25/35 ได้จำหน่ายร่วม 15 ปีแล้ว แต่ยังทำยอดจำหน่ายได้ปีละกว่า 7 แสนเครื่อง เป็นสินค้าที่ขายได้นานจนถึงปัจจุบัน

เครื่องไถนา F150 เครื่องกำเนิดไฟฟ้า E300 เครื่องตัดหญ้า HR121 ที่เป็นเครื่องใช้งานขายดีในแต่ละประเภทการใช้งานนั้น มีเบื้องหลังมาจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มองอนาคตไปล่วงหน้ากว่า 10 ปี โดยไม่ยึดติดกับผลประโยชน์ที่อยู่ต่อหน้า เครื่องยนต์ 4 สูบ GX25/35 น้ำหนักเบาที่สุดในโลกนี้ ก็แสดงให้เห็นถึงท่าทีของ Honda ที่มองการณ์ไกลในอนาคต