History

ค.ศ. 1946 เครื่องยนต์ขนาดเล็กสำหรับเครื่องสื่อสารไร้สาย ได้กลายมาเป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตของผู้คน
ไม่ปล่อยให้ผู้คนลำบาก
ช่วยให้ผู้คนสะดวกสบายมากขึ้น
อยากให้เทคโนโลยีสร้างประโยชน์ให้กับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ให้ผู้คนเป็นศูนย์กลาง
จึงเป็นที่มาของผลิตภัณฑ์พาวเวอร์โปรดักซ์ต่าง ๆ ของ Honda

ยุคกำเนิด

ปีค.ศ. 1945 หลังสงครามโลกครั้งที่สองได้สิ้นสุดลง ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งยังมีความเสียหายอันเกิดจากสงครามให้เห็นไปทั่ว ทำให้สรรพสิ่งที่เป็นปัจจัยในการใช้ชีวิตเกิดความขาดแคลน ผู้คนต้องดิ้นรนหาของจำเป็นมาจุนเจือชีวิตความเป็นอยู่ ในสภาพที่ผู้คนขาดแคลนข้าวของนี้ การเดินทางพึ่งพาได้แต่การเดินเท้า รถจักรยาน และบริการรถไฟเท่านั้น เพราะฉะนั้น รถจักรยานจีงมีความสำคัญยิ่ง เปรียบเหมือนสองเท้าค้ำจุนชีวิต สองเท้าเพื่อำงาน

มร.โซอิจิโร ฮอนด้าผู้ก่อตั้ง Honda ถือกำเนิดเมื่อปีค.ศ. 1906 ที่หมู่บ้านโคเมียง อำเฉอบังดะ จังหวัดชิซูโอกะ (เมืองฮามามัทซึ ในปัจจุบัน) เป็นบุตรชายคนโตของช่างฝีมือร้านตีเหล็ก ในปีค.ศ. 1922 เมื่อใกล้จบมัธยมต้น ก็ไปทำงานที่อู่อาร์ตโชวไกในโรงซ่อมรถยนต์ที่โตเกียว ต่อมาในปีค.ศ. 1928 ได้ขออนุญาตแยกตัวมาเปิดอู่ซ่อมรถอาร์ตโชวไกสาขาฮามามัทซึ จากนั้น ได้ยกกิจการอู่ซ่อมรถอาร์ตโชวไกสาขาฮามามัทซึให้กับลูกศิษย์ แล้วมาตั้งบริษัท โทไก เซกิ จำกัด เพื่อผลิตตลับลูกปืนในปีค.ศ. 1936 โดยดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่

จักรยานติดตั้งเครื่องยนต์ทุ่นแรงสำหรับจักรยาน

ในปีค.ศ. 1946 ได้ก่อตั้ง “สถาบันวิจัยเทคโนโลยีฮอนด้า” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ “ทำการค้นคว้าวิจัย และผลิตเครื่องยนต์สันดาปภายใน และเครื่องจักรกลต่าง ๆ” และในปีเดียวกัน ได้ไปเจอเครื่องยนต์ขนาดเล็กที่ใช้เป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของเครื่องมือสื่อสารที่ใช้กับกองทัพญี่ปุ่นเข้าโดยบังเอิญ

มร.โซอิจิโร ฮอนด้าคิดไอเดียึ้นมาได้ทันทีว่า “ควรที่จะนำเครื่องนี้ไปติดเป็นเครื่องทุ่นแรงสำหรับรถจักรยาน”

มร.โซอิจิโร ฮอนด้าเริ่มทดลองทำเครื่องต้นแบบโดยทันที สีหน้ามร.โซอิจิโร ฮอนด้าจริงจังอย่างยิ่งกับเรื่องนี้ และอดหลับอดนอนใช้เวลาทั้งหมดเพื่อปรับปรุงเครื่องยนต์

วันหนึ่ง มร.โซอิจิโร ฮอนด้าเอารถจักรยานต้นแบบกลับมาที่บ้าน แล้วบอกกับภรรยาตัวเองว่า “ลองพัฒนาจักรยานนี้ขึ้นมา แม่ลองขี่ให้ดูหน่อยสิ” ภรรยามร.ฮอนด้าจึงทดสอบขี่จักรยานนี้ โดยเลือกกางเกงทำงานที่สวยที่สุดที่มีอยู่ เพราะต้องออกไปทดสอบขี่ที่บนถนนในเมืองซึ่งมีผู้คนเดินไปมาขวักไขว่ ในประวัติศาสตร์บริษัท Honda นักทดสอบขับรถผู้หญิงคนแรกก็คือภรรยามร.ฮอนด้า

หลังจากทดสอบขับแล้วรอบหนึ่งกลับมาแล้ว พบว่ากางเกงสุดสวยที่มีอยู่ตัวเดียวต้องสกปรกเลอะเทอะไปด้วยน้ำมัน สาเหตุเพราะมีน้ำมันผสมอากาศพรวยพรุ่งออกมาจากคาร์บูเรเตอร์ ภรรยามร.ฮอนด้าได้กล่าวในตอนนั้นว่า “อย่างนี้ไม่ดีหรอกพ่อ ลูกค้าซื้อไปต่อว่าเราแย่แน่เลย” ซึ่งความเห็นนี้ได้รับการแก้ไข ก่อนจะจำหน่ายออกสู่ตลาด

เครื่องยนต์ทุ่นแรงสำหรับจักรยานกลายเป็นที่กล่าวขาน มีการพูดถึงปากต่อปากไปทั่ว ผู้สนใจจะซื้อเครื่องนี้เดินทางมาจากเมืองใหญ่ เช่น นาโกยา โอซากา โตเกียว เป็นต้น เพื่อมาหาซื้อที่ฮามามัทซึ อย่างไรก็ตาม เมื่อเครื่องยนต์สำหรับเครื่องมือสื่อสารหมดจากโกดังแล้ว จึงได้หันมาพัฒนาเครื่องยนต์ทุ่นแรงสำหรับจักรยานด้วยตัวเอง จนในที่สุดจึงเริ่มจำหน่ายเครื่องยนต์รุ่น A ทุ่นแรงสำหรับจักรยานในปีค.ศ. 1947 เครื่องยนต์นี้มีราคาถูกและใช้ได้กับเชื้อเพลิงคุณภาพต่ำได้ด้วย จึงเป็นที่ตอบรับเป็นอย่างดี

จัดงานทดลองขี่จักรยานติดตั้งเครื่องยนทุ่นแรงสำหรับจักรยานและเครื่องยนต์รุ่น A

ด้วยทุนจดทะเบียน 1 ล้านเยน และพนักงานอีก 34 คน ก่อตั้งขึ้นเป็นโรงงานห้องแถวขนาดเล็กในเมืองฮามามัทซึ ผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทคือเครื่องยนต์ทุ่นแรงสำหรับรถจักรยาน บริษัทนี้คือ Honda ในปัจจุบัน

โรงงานยามาชิตะที่ผลิตเครื่องยนต์รุ่น A

กำลังประกอบรุ่น A ที่โรงงานโนกูจิ เมืองฮามามัทซึ

หลังก่อตั้งได้ 4 ปี ในปีค.ศ. 1952 ได้ออกจำหน่าย “เครื่องยนต์คับรุ่น F” ที่มีน้ำหนักเพียงครึ่งเดียวของเครื่องยนต์เดิม แต่มีสมรรถนะให้พลังการขับเคลื่อนที่สูงขึ้น “เครื่องยนต์คับรุ่น F” นี้มีตัวถังสีขาวคาดแถลบสีแดง สร้างความสดใหม่ในเรื่องการออกแบบเป็นอย่างยิ่ง

คับรุ่น F ทั้งเซ็ตได้รับการบรรจุในกล่องเฉพาะแล้วจัดส่ง

คับรุ่น F เป็นที่ชื่นชอบของผู้คนทั่วไป

“เครื่องยนต์คับรุ่น F” มีจุดเด่นคือติดตั้งได้ง่าย แม้ร้านขายจักรยานที่ไม่มีประสบการณ์ติดตั้งเครื่องยนต์มาก่อนก็สามารถติดตั้งได้ ได้รับความนิยมแพร่หลาย จำหน่ายในร้ายขายจักรยานทั่วประเทศ 13,000 แห่ง

ในปีค.ศ. 1951 มร.โซอิจิโร ฮอนด้าได้แถลงลงในวารสารบริษัทหัวข้อ “สามความปิติ” คือ “ปิติที่ได้ผลิต ปิติที่ได้จำหน่าย และปิติที่ได้ซื้อ” ซึ่งกลายมาเป็นปรัชญาพื้นฐานของ Honda มาถึงปัจจุบัน

อยากให้ทุกคนมีความสุข อยากให้สบายขึ้น อยากให้คนเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่ง และนำเทคโนโลยีมาสร้างความสะดวกให้กับการดำรงชีวิตของผู้คน เครื่องจักรเอนกประสงค์ของ Honda ไม่ว่าจะเป็น เครื่องไถนา เครื่องตัดหญ้า เครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือปั๊มป์น้ำ เป็นต้น ที่กำเนิดขึ้นมาในภายหลัง ล้วนแล้วแต่ช่วยทุ่นแรงด้วยเทคโนโลยี สร้างความสุขให้กับผู้คน แล้วกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้คนในเวลาต่อมา

(ที่มา / เอกสารอ้างอิง “50 ปีแห่งความท้าทาย สิ่งที่อยากบอกต่อคนรุ่นหลัง” บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด)

1950s~1960s

ต้นทศวรรษ 1950 ญี่ปุ่นเริ่มเข้าสู่ยุคฟื้นฟูอย่างช้า ๆ ภายใต้ความสับสนวุ่นวายที่ยังมีอยู่ช่วงหลังสงครามโลก แต่ปัญหายังคั่งค้างอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการผลิตอาหารเพิ่ม และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ในยุคนี้ Honda รู้สึกถึงความเป็นไปได้ของเครื่องยนต์ทุ่นแรงสำหรับจักรยาน ถึงแม้ว่าจะเป็นเครื่องยนต์ขนาดเล็ก แต่เป็นเครื่องยนต์ที่สามารถพัฒนาสังคมได้

ในสภาพการณ์ดังกล่าว ผู้ผลิตเครื่องจักรเกษตรขนาดเล็กที่ได้ยินชื่อเสียงของ “ฮอนด้ารุ่น A” และ “คับรุ่น F” ได้ร้องขอมายัง Honda ว่า “อยากได้เครื่องยนต์ขนาดเล็กสำหรับเครื่องพ่นสารผง”

เครื่องพ่นสารผงแบบอุ้มหลังติดตั้งเครื่องยนต์ H

เครื่องยนต์ที่พัฒนาขึ้นหลังได้รับคำร้องขอคือเครื่องยนต์ 2 สูบ ซึ่งแล้วเสร็จในปีค.ศ. 1952 โดยออกจำหน่ายเป็นเครื่องยนต์เอนกประสงค์รุ่นแรกของ Honda ในปีค.ศ. 1953 เครื่องยนต์รุ่นนี้ได้รับการขนานนามว่า “รุ่น H” ให้กำลัง 1 แรงม้า ทำจากอลูมิเนียมไดแคสติง ซึ่งถือว่าล้ำน้ำสมัยมากในยุคนั้น ทำให้มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา อีกทั้งมีความคงทนดีเยี่ยม ใช้เป็นเครื่องพ่นสารผงหรือเครื่องปั๊มป์น้ำแบบสูบประเภทแขวนหลัง ช่วยทุ่นภาระและทุ่นแรงของเกษตรกรได้เป็นอย่างดี

เครื่องยนต์เอนกประสงค์รุ่น T แบบสี่สูบรุ่นแรกของ Honda

เครื่องยนต์ขนาดเล็กน้ำหนักเบา “รุ่น H” ได้รับความชื่นชมอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้เครื่องยนต์นี้ต้องการให้เครื่องยนต์เงียบ และจัดเก็บได้เรียบร้อย อีกทั้งยังมีเสียงเรียกร้องต้องการให้เป็นเครื่องที่ใช้งานง่าย และไม่สกปรกง่าย จึงเป็นที่มาให้ Honda ได้พัฒนาเครื่องยนต์ “รุ่น T” ขนาด 2.5 แรงม้า 4 สูบขึ้นเมื่อ 2 ปีให้หลังคือในปีค.ศ.1954 ในด้านสมรรถนะของเครื่องยนต์ก็ให้แรงบิดที่ทรงพลังในรอบหมุนต่ำ ให้กำลังสูงในรอบหมุนสูง มีความพร้อมรองรับทุกวัตถุประสงค์การใช้งานเครื่องจักรเกษตรที่นำเครื่องยนต์นี้ไปติดตั้ง

คำปฏิญานเข้าร่วมแข่งขันรถ Isle of Man TT ที่ประเทศอังกฤษ

ปีค.ศ. 1954 ซึ่งเป็นปีที่เครื่องยนต์ “รุ่น T” เปิดตัวนั้น เป็นปีเดียวกับที่ Honda ประกาศตัวว่าจะลงแข่งขัน Isle of Man TT ที่ประเทศอังกฤษ ไม่เพียงแต่เป็นการแสดงความท้าทายสู่ระดับโลกที่จะ “ใช้ความสามารถของฮอนด้า มอเตอร์ทั้งหมด เพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะ” แต่ยังแสดงให้เห็นถึงอนาคตของประเทศญี่ปุ่นตามคำพูดที่ว่า “พันธกิจของฮอนด้า มอเตอร์คือการประชาสัมพันธ์ให้ทั่วโลกได้รู้ถึงระดับอุตสาหกรรมของประเทศญี่ปุ่น”

เครื่องยนต์เอนกประสงค์ของ Honda ได้ถูกนำไปใช้กับหลากหลายการใช้งานตั้งแต่ใช้ในงานเกษตร งานก่อสร้าง จนถึงงานบ้านทั่วไป และสภาพแวดล้อมธุรกิจของเครื่องยนต์เอนกประสงค์ได้เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดความต้องการเครื่องยนต์ที่มีกำลังเพิ่มมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการตอบโจทย์ความต้องการนี้ พร้อมกับพัฒนาให้เครื่องยนต์เงียบ แรงสั่นสะเทือนต่ำ และลดความร้อนที่ถ่ายจากเครื่องยนต์ให้ได้ จึงเป็นความท้าทายด้านการพัฒนาเทคโนโลยีของ Honda เป็นอย่างยิ่ง หลังจากจำหน่าย “รุ่น T” ไปแล้ว 4 ปีคือในปีค.ศ. 1958 เพื่อเป็นเครื่องยนต์เอนกประสงค์ในระดับสูงตอบรับความต้องการอย่างสูงที่จะใช้เครื่องจักรเพื่อการเกษตร และความต้องการด้านประสิทธิภาพสูงในงานก่อสร้าง Honda ได้เริ่มจำหน่ายเครื่องยนต์ “ซีรีส์ VN (รุ่น VNC/VND)” ให้กำลังสูงสุด 5 แรงม้าที่มีประสิทธิภาพสูงและมีความพรีเมียมมากขึ้น ในปีเดียวกันนี้ ได้เปิดตัวรถมอเตอร์ไซค์ซูเปอร์คับด้วย ถือเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านของ Honda จากยุคก่อตั้งไปสู่ยุคก้าวกระโดด Honda ได้คำนึงอยู่เสมอที่จะ “ให้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นประโยชน์มากขึ้น” “ให้สินค้าที่ใช้งานได้ง่ายขึ้น” จึงได้เริ่มจากการพัฒนาเครื่องยนค์ “รุ่น A” และ “คับรุ่น F” ที่เป็นเครื่องยนต์ทุ่นแรงสำหรับรถจักรยาน จนกลายมาเป็นเครื่องยนต์ขนาดเล็กรุ่นต่าง ๆ คือ “รุ่น H” “รุ่น T” ที่เป็นเครื่องยนต์เอนกประสงค์ อย่างไรก็ตาม ในยุคนี้ เราไม่ได้พึงพอใจแต่การพัฒนาสร้างเครื่องยนต์เท่านั้น

เครื่องยนต์รุ่น VN ที่เพิ่มกำลังใหม่

มร. โซอิจิโร ฮอนด้ากำลังทดสอบเครื่องไถนาติดตั้งเครื่องยนต์ VN

ปลายทศวรรษ 1950 ในบรรดาเกษตรกรร่วม 6 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศญี่ปุ่น มีเกษตรกรที่ถือครอง “เครื่องไถนา” เพียง 6% ยุคนี้กล่าวกันว่า “เกษตรกรบ้านไหนจะแต่งงานได้หรือไม่ ขึ้นกับว่ามีเครื่องไถนาหรือไม่” เพื่อตอบรับกับความต้องการในยุคนี้ Honda จึงได้หันมาพัฒนาสร้างเครื่องไถนาที่ใช้เครื่องยนต์ “รุ่น VNC” และนี่คือจุดเปลี่ยนผ่านไปสู่ทศวรรษที่ 1960 ซึ่งฝ่ายงานวิจัยพัฒนาของ Honda ได้เข้าสู่สาขาธุรกิจใหม่ ที่ประยุกต์ใช้เครื่องเอนกประสงค์มาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปในรูปแบบของ “เครื่องไถนา” และ “เครื่องกำเนิดไฟฟ้า” ต่อไป

1960s~1970s

กลางทศวรรษที่ 1950 แรงงานต่างจังหวัดวัยทำงานอายุ 20 ปีถึง 30 ปีขึ้นไป ได้เข้ามามีส่วนในการพัฒนาเศรษฐกิจให้เกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ด้วยการเข้ามาหางานในเมืองใหญ่ เกษตรกรรมในต่างจังหวัดส่วนใหญ่มีแต่ผู้หญิงหรือผู้สูงอายุเป็นหลัก จากสภาพการณ์ดังกล่าว Honda จึงได้พัฒนาเครื่องไถนาที่ผู้หญิงหรือผู้สูงอายุสามารถใช้งานได้โดยง่าย และด้วยแนวความคิดว่า “ร่วมสร้างนวัตกรรมที่ไม่เคยมีในยุคนี้มาก่อน” “ร่วมสร้างสิ่งเหนืออนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า” จึงเป็นที่มาของเครื่องไถนา “F150” รุ่นแรกของ Honda ที่เปิดตัวในปีค.ศ. 1950

เครื่องยนต์ซีรีส์ F150 ที่สร้างกระแสบูมฮอนด้าในกลุ่มเกษตรกร

เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องไถนาเดิม เครื่องไถนารุ่น “F150” มีขนาดกระทัดรัด น้ำหนักเบา ใช้งานได้ง่าย มีสมรรถนะและความทนทานสามารถใช้งานได้แม้ผ่านไป 10 ปีข้างหน้า ด้านสไตลิง ก็ได้รับการออกแบบให้มีฝาครอบส่วนเครื่องจักร โดยเลือกสีตัวถังให้มีสีแดงสดใส

ในยุคนั้น เครื่องไถนาขายได้เพียงปีละสองสามพันคันเท่านั้น แต่รุ่น “F150” สามารถสร้างยอดขายได้มหาศาลเมื่อเปิดตัว จนวงการเครื่องจักรเกษตรกรเรียกปรากฎการณ์นี้ว่า “พายุฮอนด้า” ทั้งนี้ รุ่น “F150” สามารถสร้างยอดขายได้ถึง 2 หมื่นคัน ได้รับการพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีจำหน่ายถึง 13 ปีหลังออกสู่ตลาด เครื่องไถนาขนาดเล็กสีแดงฉูดฉาดนี้เป็นรุ่นสร้างนวัตกรรมใหม่เปลี่ยนสภาพแวดล้อมด้านแรงงานอย่างสิ้นเชิง แก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานของชาวเกษตรกรได้เป็นอย่างดี

หลังจากออกเครื่องไถนาจำหน่ายในประเทศแล้ว ได้เริ่มพัฒนาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบพกพาตามมา โดยมีแรงบันดาลใจจาก SONY ที่ได้พัฒนาโทรทัศน์แบบพกพาขึ้นมา ทาง SONY ต้องการแหล่งจ่ายไฟฟ้าแบบพกพาได้สำหรับโทรทัศน์แบบพกพาของตน จึงขอให้ Honda พัฒนาให้ จึงได้เริ่มพัฒนาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบพกพา จนประสบความสำเร็จในการสร้างเครื่องต้นแบบ แต่ไม่ได้จำหน่ายเป็นสินค้า อย่างไรก็ตาม โนวฮาวการพัฒนาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบพกพาในครั้งนั้นได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ต่อมาในอนาคต

เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็กแบบพกพารุ่น E300 ที่ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบการใช้งาน

3 ปีให้หลังจากพัฒนาเครื่องต้นแบบ Honda ได้เริ่มจำหน่ายเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็กพกพาได้รุ่น “E300” ในปีค.ศ. 1965 ในยุคนั้น เครื่องกำเนิดไฟฟ้าทั่วไปใช้งานยาก แต่ “E300” เป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสีแดงสดใส มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และดูจากภายนอกก็รู้ว่าใช้งานได้ง่าย แหล่งจ่ายไฟฟ้าที่ใช้งานง่าย คล่องตัวได้ถือกำเนิดขึ้นมาในญี่ปุ่นยุคตั้งต้นของเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านที่เริ่มแพร่หลาย

“E300” ให้ความสะดวก จึงถูกนำไปใช้กับหลอดไฟแสงสว่างสำหรับงานก่อสร้าง ที่จำเป็นต้องทำงานกลางคืนมากขึ้น หรือนำไปใช้เฉพาะทางเป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้าแบ็กอัพเมื่อไฟดับ เป็นต้น รวมถึงนำไปใช้เป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้าสำหรับหลอดไฟนอกบ้าน ร้านค้า ได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่งเพราะเป็น “เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็ก เงียบ และปลอดควัน”

ในทศวรรษ 1960 เป็นช่วงที่ Honda คว้าแชมป์การแข่งขัน WGP สาขารถมอเตอร์ไซค์ และเพิ่มการส่งออกรถมอเตอร์ไซค์ไปต่างประเทศ พร้อมกับเริ่มจำหน่ายรถรุ่น T360 เข้าสู่ตลาด อีกทั้ง ได้เข้าร่วมแข่งขันรถยนต์ F-1 ช่วงนี้ได้เริ่มจำหน่ายเครื่องไถนา เครื่องกำเนิดไฟฟ้า พร้อมกับผลักดันเครื่องยนต์เอนกประสงค์นี้เข้าสู่ตลาดสากล เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่ระดับสากลต่อไป

เครื่องยนต์เอนกประสงค์ซีรีส์ G ที่ใช้งานได้อย่างจริงจัง โดดเด่นไม่เพียงในประเทศญี่ปุ่นแต่ในระดับโลก

ยุคนั้น ประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ยังอยู่ในยุคพัฒนาประเทศ ต้องการแหล่งพลังงานราคาถูกและมีความคงทน ในยุคนั้น ประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ยังใช้เครื่องยนต์ดีเซลจากตะวันตก หรือเครื่องยนต์ 2 สูบเป็นหลักอยู่ แต่ Honda ได้พิจารณาแล้วว่ายังมีโอกาสป้อนเครื่องยนต์ 4 สูบที่มีความโดดเด่นด้านความคงทนเข้าสู่ตลาดได้ ในปีค.ศ. 1963 ได้เริ่มจำหน่ายเครื่องยนต์เอนกประสงค์รุ่น “G20” ที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ใช้งานง่าย ให้ความคุ้มค่าและเป็นที่ชื่นชอบ พร้อมกับ รุ่น “G30” ที่ใช้งานได้หลากหลายวัตถุประสงค์ ทั้งสองรุ่นเป็นเครื่องยนต์เอนกประสงค์ที่เหมาะสมกับการใช้งานจริง และได้รับการออกแบบชิ้นส่วนสำคัญให้มีความคงทน และน่าเชื่อถือ จนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของผู้คนในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ในรูปแบบของเครื่องยนต์เรือ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า และปั๊มป์น้ำ เป็นต้น

Honda ได้เริ่มส่งออกเครื่องไถนาและเครื่องกำเนิดไฟฟ้าไปยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย อาฟริกาและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก ในปีค.ศ. 1967 พบว่า 70

%ชองมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของฮอนด้ามาจากเครื่องยนต์เอนกประสงค์และสินค้าสำเร็จรูปที่เกี่ยวข้อง

ในปีค.ศ.1968 เพื่อเป็นการรองรับการขยายตัวอย่างรวดเร็วของฝ่ายงานเครื่องยนต์เอนกประสงค์ Honda จึงได้ปรับโครงสร้างองค์กรให้เป็นแบบองค์รวมที่สามารถดำเนินการได้ตั้งแต่วิจัยพัฒนา วางแผนออกแบบ ไปจนถึงผลิตและจำหน่ายได้ ในปีค.ศ.1969 ยอดจำหน่ายเครื่องยนต์เอนกประสงค์สะสมทะลุยอด 1 ล้านเครื่อง และเพิ่มจำนวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานทั่วโลกที่มีความหลากหลาย จึงได้เพิ่มสายผลิตภันฑ์ให้หลายหลาก และบริษัทได้เข้าสู่ยุคขยายธุรกิจในทศวรรษ 1970 ต่อไป

1970s~1990s

ในยุคทศวรรษ 1960 เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวอย่างรวดเร็วตามอัตราการขยายตัวสูงทางเศรษฐกิจ โครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ในประเทศได้รับการพัฒนาเพิ่มมากขึ้น ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่มีความอยู่ดีกินดีมากขึ้น พอเข้าสู่ทศวรรษ 1970 ทางบริษัทฯได้เริ่มหันไปมองตลาดต่างประเทศมากขึ้น

บริษัท Honda ได้เริ่มส่งออกผลิตภัณฑ์ Power product ตั้งแต่ปีค.ศ. 1963 อย่างไรก็ตาม ตลาดเครื่องยนต์เอนกประสงค์ทั่วโลก(ในสมัยนั้น)มีขนาดที่ 10 ล้านเครื่อง แต่บริษัทฯได้วางแผนทำโครงการ ME “Million seller Engine” ขึ้นมา และได้วางแผนที่มีเป้าหมายการจำหน่ายสูงถึง 1 ล้านเครื่องต่อปี ทั้ง ๆ ที่บริษัท Honda มียอดการผลิตเพียงปีละ 2 แสนเครื่องเท่านั้น

ในสมัยนั้น ผู้ที่ครองตลาดโลกถึงร้อยละ 80 คือเครื่องยนต์ผลิตในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเครื่องยนต์ผลิตในสหรัฐอเมริกามีราคาถูก เพราะอาศัยจุดเด่นด้านการผลิตแบบมาสโปรดักชัน แต่พบว่ามีปัญหาเรื่องความคงทน และการบำรุงรักษาเครื่องยนต์

G150

G200

บริษัท Honda จึงได้ออกจำหน่ายเครื่องยนต์ “รุ่น G150/200” ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาตามหลักในโครงการ ME ขึ้นในปีค.ศ. 1977 เครื่องยนต์ “รุ่น G150/200”ได้รับการออกแบบให้มีวัสดุและโครงสร้างใหม่ เป็นเครื่องยนต์ที่แก้ไขจุดอ่อนของเครื่องยนต์ส่วนใหญ่ที่มีในสมัยนั้น ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งระบบหยุดเครื่องยนต์อัตโนมัติเมื่อน้ำมันไม่เพียงพอ ระบบจุดระเบิด CDI แบบไม่ต้องบำรุงรักษา ระบบลดแรงสั่นสะเทือนด้วยการปล่อยแรงดันจากกระบอกสูบเพื่อให้ความคล่องตัวในการเริ่มสตาร์ทเครื่อง สวิทซ์ดับเครื่องยนต์ฉุกเฉินที่หยุดเครื่องยนต์ได้ทันที เป็นต้น

เครื่องยนต์ “รุ่น G150/200” เป็นที่นิยมอย่างมากในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ จนเป็นที่กล่าวขานว่า “เครื่องยนต์ขาวแดงที่ขายได้ดีโดยไม่ต้องนำมาวางเรียงที่หน้าร้าน” เครื่องยนต์นนี้ถูกนำไปใช้เป็นเครื่องยนต์เรือ ปั๊มป์น้ำ ฯลฯ

เครื่องยนต์ที่ได้รับการพัฒนาภายใต้โครงการ ME ได้จำหน่ายต่อเนื่องเป็นซีรีส์ จนทะลุเป้าหมาย 1 ล้านเครื่องต่อปีในปีค.ศ.1982 ถึงแม้ว่าจะครองสัดส่วนตลาดได้เพียง 10 % แต่เครื่องยนต์ใหม่ภายใต้โครงการ ME ประสบความสำเร็จด้วยการแสดงให้ชาวโลกได้เห็นถึงเทคโนโลยีขั้นสูง การค้นหาและแก้ไขปัญหาของ Honda

สิ่งที่บริษัท Honda ได้เลือกที่จะพัฒนาต่อมาคือเครื่องตัดหญ้าส่งจำหน่ายสหรัฐอเมริกา โดยทำการศึกษาความต้องการของลูกค้าในพื้นที่อย่างจริงจัง และนำเทคโนโลยีกับไอเดียมาแก้ไขปัญหา จนได้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานได้ง่าย มีคุณภาพสูง ทนทานต่อการใช้งาน ซึ่งเป็นสูตรสำเร็จที่ Honda ได้เลือกใช้มาตลอด เพื่อมาบุกตลาดสหรัฐอเมริกาด้วยเช่นกัน

รุ่น HR21 ได้รับการใส่ใจไม่เพียงด้านสมรรถนะ แต่รวมถึงด้านความปลอดภัยด้วย

และในปีค.ศ. 1978 บริษัท Honda ได้เปิดตัวเครื่องตัดหญ้าแบบเข็นคันแรกของ Honda รุ่น “HR21” โดยแก้ไขปัญหาที่ลูกค้าส่วนใหญ่ที่ไม่พอใจในการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความคงทน ความเงียบ และการสตาร์ทเครื่อง เป็นต้น

“HR21” ได้ติดตั้งระบบความปลอดภัยล้ำสมัยที่มีกลไก BBC (Blade Brake and Clutch) กลไกนี้จะทำงานเมื่อผู้ใช้เครื่องตัดหญ้าบีบคันโยกคลัชท์ ทำให้ใบมีดตัดหญ้าหมุนตัวและเข็นเครื่องไปข้างหน้าได้ แต่ถ้าปล่อยคันโยกแล้ว ใบมีดจะหยุดหมุนตัวภายใน 3 วินาที เดิมที

ผู้บริโภคของสหรัฐอเมริกาต้องการระบบความปลอดภัยระดับสูง แต่ด้วยอุปสรรคทางด้านเทคโนโลยีที่มีอยู่ ทำให้ไม่มีใครสามารถติดตั้งกลไกนี้เข้ากับผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ได้ ดังนั้น เครื่องตัดหญ้าของ Honda รุ่นนี้จึงเป็นที่ชื่นชอบและแพร่หลายไปตามบ้านของอเมริกาอย่างรวดเร็ว ทำให้รุ่น “HR21” ของ Honda กลายเป็นสินค้าประจำบ้านไปในที่สุด

ความท้าทายของ Honda ที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ไม่เคยมีมาก่อนออกมาจำหน่ายในตลาดต่างประเทศที่ไม่รู้จัก เริ่มจากการตอบรับความต้องการที่มีอยู่ พร้อมไปกับพัฒนาสร้างวิวัฒนาการตามไปด้วย กลไก BBC ที่นำมาติดตั้งกับรุ่น “HR21” ได้กลายเป็นมาตรฐานด้านความปลอดภัยของเครื่องตัดหญ้าในสหรัฐอเมริกาในที่สุด ผลลัพท์ที่ออกมา ได้มีส่วนช่วยในการพัฒนาสังคมเป็นอย่างยิ่ง

ความท้าทายต่อมาคือเครื่องยนต์เพื่อจำหน่ายแบบ OEM คำว่า OEM (Original Equipment Manufacturer) คือการผลิตผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ของบริษัทอื่น ซึ่งเครื่องยนต์สำหรับผลิตภัณฑ์ Power product เกือบทั้งหมดเป็นเครื่องยนต์ OEM ที่ได้รับการผลิตจากผู้ผลิตเครื่องยนต์เดิม หากเครื่องยนต์ที่ได้มาจากการจำหน่ายแบบ OEM เดิมไม่มีปัญหาอะไร มักจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงตัวเครื่องยนต์แต่อย่างไร หมายความว่า หากไม่มีนวัตกรรมทางเทคโนโลยีใหม่ จักเป็นเรื่องยากอย่างยิ่งที่ผู้ผลิตเจ้าใหม่จะเข้าสู่ตลาดได้

ทศวรรษ 1970 ปัญหาใหม่ ๆ เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องการประหยัดพลังงาน หรือมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากวิกฤติการณ์ราคาน้ำมัน และกฎหมายควบคุมการปล่อยควันเสียของสหรัฐอเมริกาที่มีความเข้มงวด เป็นต้น ฝ่ายงานยานยนต์ของ Honda จึงได้พัฒนาเครื่องยนต์ CVCC (Compound Vortex Controlled Combustion) ขึ้นมา เพื่อรองรับกับกฎหมายดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงความสามารถสูงทางเทคโนโลยีของบริษัท

Honda ได้มุ่งมั่นที่จะพัฒนาให้เกิดเครื่องยนต์เอนกประสงค์ที่มีกำลังสูง ประหยัดเชื้อเพลิง มีความเงียบ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงได้เริ่มโครงการ ZE (Zillion Engine) โดยนำคำว่า Zillion ที่มีความหมายว่าไร้ขีดจำกัดมาเป็นชื่อโครงการ

เครื่องยนต์เอนกประสงค์ส่วนใหญ่ในยุดนั้นจะมีกลไกแบบ SV (Side Valve) อย่างไรก็ตาม การทำให้เครื่องยนต์มีกำลังสูง ประหยัดเชื้อเพลิง เงียบ เป็นที่น่าเชื่อถือได้อย่างดีนั้น ควรสร้างเครื่องยนต์กลไกแบบ OHV (Over Head Valve) จะดีกว่า แต่มีข้อเสียว่า กลไก OHV นั้นมีขนาดใหญ่ จำนวนชิ้นส่วนมีเพิ่มมากขึ้น แต่ Honda ได้สร้างความท้าทายในการทำให้กลไก OHV นี้เกิดขึ้นจริงได้

GX110

GX140

บริษัทได้ออกจำหน่ายเครื่องยนต์รุ่น “GX110/GX140” ในปีค.ศ. 1983 โดยเครื่องยนต์รุ่น “GX110/GX140” นี้แก้ไขปัญหาที่มีอยู่ด้วยการจัดวางกระบอกสูบในแนวเฉียง และรวมชิ้นส่วนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน แตกต่างกับเครื่องยนต์ที่มีอยู่เดิมแบบ “ชนะขาดลอย ไม่ใช่แค่ปลายจมูก” และยังประสบความสำเร็จในการทำราคาได้เท่ากับเครื่องยนต์เดิมได้ด้วย

เครื่องยนต์ OHV ที่มีกระบอกสูบเฉียงที่นำมาติดตั้งในเครื่องยนต์เอนกประสงค์รุ่น GX นี้ กลายเป็นต้นแบบที่ผู้ผลิตอื่น ๆ ได้ผลิตตามมา ทำให้เครื่องยนต์นี้กลายเป็นมาตรฐานของวงการเครื่องยนต์ OEM กล่าวได้ว่าเป็นเครื่องยนต์ที่ปฏิวัติวงการเครื่องยนต์เอนกประสงค์ในยุคนั้น

ปีค.ศ. 1981 เป็นปีที่ยอดการผลิตผลิตภัณฑ์ Power product สะสมบรรลุ 5 ล้านเครื่อง ซึ่งเป็น 5 ล้านเครื่องที่ต้องใช้เวลาถึง 30 ปี แต่หลังจากนั้นเพียง 4 ปีก็บรรลุยอดผลิตสะสม 10 ล้านเครื่อง

ผลิตภัณฑ์ Power product ของ Honda ตอบรับกับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว บริษัทฯจึงขยายการผลิตในต่างประเทศอย่างเร่งรีบ โดยการเริ่มผลิตในโรงงานเครื่องตัดหญ้าของสหรัฐอเมริกาเมื่อปีค.ศ. 1984 หลังจากนั้นก็เริ่มผลิตในฝรั่งเศสเมื่อปีค.ศ. 1986 ในประเทศไทยเมื่อปีค.ศ. 1987 และในประเทศออสเตรเลียกับอินเดียเมื่อปีค.ศ. 1988

ธุรกิจ Power product ของ Honda ตั้งแต่ทศวรรษ 1970 ถึงต้นทศวรรษ 1980 ได้ท้าทายด้วยการสร้างความต้องการใหม่ในตลาดโลก และด้วยเทคโนโลยี มุมมองปัญหา และไอเดียที่ยืดหยุ่นเป็นพลวัตรในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรม จึงทำให้เครื่องยนต์ของบริษัทฯได้รับความนิยมไปทั่วโลก คุณภาพและความคงทนที่เด่นล้ำได้กลายเป็นมาตรฐานใหม่ของวงการ และเมื่อเข้าสู่ทศวรรษ 1990 บริษัท Honda ได้สร้างความท้าทายใหม่ด้วยการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ที่เป็นปัญหาใหม่ที่เกิดขึ้น โดยการยกระดับมาตรฐานภายในบริษัทขึ้น และพยายามที่จะก้าวข้ามอุปสรรคนั้นไปให้ได้ด้วยความพยายามอย่างยิ่ง

1990s~2010s

เมื่อเข้ายุคทศวรรษ 1990 ความสนใจในปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ขยายวงกว้างไปสู่ระดับโลก บริษัท Honda ได้ออกมาตรฐานภายในเป็นเครื่องหมายด้านเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมของเครื่องยนต์เอนกประสงค์ที่เรียกว่า “e-SPEC” ขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการปล่อยควันเสียต่ำ ในระดับมาตรฐานที่ดีที่สุดในโลก และเพื่อให้สอดคล้องกับความมุ่งมั่นของบริษัทที่ต้องการส่งต่อ “ธรรมชาติอันสมบูรณ์สู่คนรุ่นหลัง” โดยบริษัทฯได้ติดเครื่องหมายดังกล่าวที่เครื่องยนต์เบนซินเอนกประสงค์และผลิตภัณฑ์ Power product ทั้งหมดที่ผ่านมาตรฐานบังคับสูงสุดของกระทรวงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (EPA) ซึ่งเป็นมาตรฐานการปล่อยควันเสียที่เข้มงวดที่สุดในโลก เป็นการแสดงสมรรถนะด้านความสะอาดระดับมาตรฐานที่ดีที่สุดในโลก (ในยุคนั้น)

ปีค.ศ. 1977 บริษัทฯได้เริ่มจำหน่ายเครื่องยนต์ “รุ่น GX22/31” ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ 4 สูบขนาดเล็กมากที่สามารถวางบล็อกเครื่องยนต์ได้ตามต้องการ 360 องศาเครื่องแรกของโลก ก่อนหน้านั้น เป็นที่เชื่อกันว่าไม่สามารถพัฒนาเครื่องยนต์ 4 สูบที่สามารถเดินเครื่องยนต์ได้อย่างต่อเนื่องในทุกองศาการวางเครื่องให้เกิดขึ้นจริงได้ เพราะปัญหาด้านโครงสร้าง อย่างไรก็ตาม เครื่องยนต์ “รุ่น GX22/31” ได้ถูกนำไปใช้กับเครื่องตัด (เครื่องตัดหญ้า) เครื่องส่งกำลังของเครื่องฉีดผ่น (แบบแขวนหลัง) บังคับมือได้ ถือเป็นครั้งแรกที่สามารถใช้เครื่องยนต์ 4 สูบแบบสะอาดและเงียบกับงานต่าง ๆ เหล่านี้

GX22

เครื่องยนต์ “รุ่น GX22/31” ได้รับการพัฒนาให้มีวิวัฒนาการสูงขึ้นเป็นเครื่องยนต์ “รุ่น GX25” ที่ใช้กลไก OHC (Over Head Camshaft) ในปีค.ศ. 2002 โดยยังสามารถวางบล็อกเครื่องยนต์ได้ตามต้องการ 360 องศา แต่มีน้ำหนักเพียง 2.78 กก. และบริษัทฯได้เริ่มจำหน่ายเครื่องยนต์ 4 สูบเบาที่สุดในโลกนี้ออกสู่ตลาด

GX25

เครื่องยนต์ “รุ่น GX” โครงสร้าง OHV ได้กลายมาเป็นมาตรฐานของวงการเครื่องยนต์จำหน่ายแบบ OEM ได้รับการพัฒนากลายเป็น “ซีรีส์ GC/GCV” ในปีค.ศ. 1997 เพื่อรองรับกับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม และได้ติดตั้งเทคโนโลยี OHC สายพานตามจังหวะแบบติดตั้งภายในเป็นเครื่องแรกของโลก โดยได้รับการออกแบบกระบอกสูบเป็นแบบยูนิบล็อก ทำให้ได้เครื่องยนต์สมรรถนะสูง และมีคุณสมบัติด้านการประหยัดเชื้อเพลิงที่ดีเยี่ยม ทำให้สามารถจำหน่ายได้ในราคาถูกทั้งการจำหน่ายแบบ OEM และจำหน่ายทั่วไป

iGX440

ในปีค.ศ. 2005 บริษัทได้เริ่มจำหน่าย OEM เครื่องยนต์ “ซีรีส์ iGX” สมรรถนะสูง ให้กำลังสูง และติดตั้ง “STR GOVENER” ซึ่งเป็นเทคโนโลยีควบคุมความเร็วรอบเครื่องยนต์ระบบอีเล็กทรอนิกส์เป็นเจ้าแรกของโลก ทำให้ “ซีรีส์ iGX” มีความเป็นอัจฉริยะมากขึ้น และกลายเป็นเครื่องยนต์แห่งอนาคตที่ขยายโอกาสความเป็นไปได้ของเครื่องยนต์เอนกประสงค์ให้มากขึ้น

เครื่องยนต์ “ซีรีส์ GX/GC/iGX” ได้ผ่านมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม Phase 2 ของกระทรวงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (Environmental Protection Agency หรือ EPA) ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นมาตรฐานที่เข้มงวดที่สุดในโลก พร้อมกับผ่านมาตรฐาน Tier II ของสำนักงานทรัพยากรอากาศรัฐแคลิฟอร์เนียร์ (California Air Resources Board หรือ CARB) แสดงให้เห็นถึงเทคโนโลยีระดับสูงของ Honda ที่สร้างความตะลึงให้กับทั่วโลก

นอกจากนั้น เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบพกพาที่ให้ “คลื่นไฟฟ้าที่เป็นระเบียบ” เริ่มเป็นที่ต้องการตามกระแสโลกดิจิตัล และความละเอียดของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้น

ในครั้งนั้น Honda ได้เริ่มจำหน่ายซีรีส์ “GENE21” ซึ่งเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้ารุ่นใหม่ โดยการติดตั้งอินเวอร์เตอร์คลื่นไซน์ควบคุมด้วยไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลก สามารถป้อนไฟฟ้าที่มีคุณภาพสูงแบบที่ใช้กันทั่วไปตามบ้านเรือน และด้วยเทคโนโลยีใหม่ เช่น กลไกอีโคสล็อต ที่ให้กำลังสูง แต่ประหยัดเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นเรื่องที่ย้อนแย้งกันเองได้ด้วย มีน้ำหนักเพียงครึ่งหนึ่งของเครื่องรุ่นเดิม และมีเสียงเบา จึงเป็นที่ชื่นชอบได้รับการนำไปใช้งานเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้ายุคใหม่

พิแอนตา FV200

อีกทั้ง ในปีค.ศ. 2009 บริษัท Honda ได้มุ่งเป้าไปที่ถังบรรจุแก๊สที่สามารถหาซื้อ ใช้งาน และเก็บรักษาได้ง่ายกว่าน้ำมันเบนซิน โดยเริ่มจำหน่ายเครื่องไถนาขนาดเล็กรุ่น “พิแอนตา FV200” และเปิดตัว “เอโนโพ EU9iGB” เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานแก๊สในปีค.ศ. 2010

“พิแอนตา FV200” เป็นเครื่องยนต์สำหรับสวนไร่ในบ้าน ร้อยละ 90 ของผู้ซื้อไปใช้งานเป็นผู้ที่ใช้เครื่องไถนาเป็นครั้งแรก เป็นการสร้างตลาดใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน

“เอโนโพ EU9iGB” เป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสเป็กหรู ที่สามารถใช้ถังแก๊สได้ ช่วยสร้างตลาดครัวเรือนทั่วไปขึ้นมาได้

สโนลา i HS1390i

บริษัท Honda ยังได้เริ่มพัฒนาระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าขึ้น “สโนลา i HS1390i” เป็นเครื่องกวาดหิมะระบบไฮบริดรุ่นแรกของโลก ที่ออกจำหน่ายในปีค.ศ. 2001 เป็นระบบขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ โดยใช้เครื่องยนต์เบนซินในงานกวาดหิมะ สามารถควบคุมความเร็วเมื่อกวาดหิมะได้โดยอัตโนมัติ ผู้ไม่เคยใช้งานก็สามารถใช้กวาดหิมะได้โดยง่าย สามารถใช้เป็นแรงงานสำคัญในสังคมประชากรสูงอายุและจำนวนเด็กน้อยของพื้นที่หิมะตกหนักได้ อีกทั้ง บริษัทฯได้เริ่มจำหน่ายเครื่องกวาดหิมะแบบแผ่นกวาดใช้ไฟฟ้าที่ง่ายต่อการใช้งานรุ่น “ยูคิออส e” ในปีค.ศ. 2014 ซึ่งเหมาะกับการใช้เครื่องจักรสำหรับงานกวาดหิมะในซอยแคบหรือหน้าห้างร้านได ้

ลิบเอด (LiB-AID) E500

กันยายน ค.ศ. 2017 บริษัทฯได้เริ่มจำหน่ายแบตเตอรี่รุ่น “ลิบเอด (LiB-AID) E500” ในประเทศญี่ปุ่น แบตเตอรี่นี้ได้รับการพัฒนาตามคอนเซปต์ใหม่ที่สามารถขนย้ายไฟฟ้าติดตัวได้ โดยติดตั้งอินเวอร์เตอร์คลื่นไซน์แบบเฉพาะที่สามารถจ่ายไฟฟ้าคุณภาพสูง เหมาะใช้เป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้าแบบพกพาที่ไม่เลือกสถานที่ใช้งาน เช่น ในห้องโดยสารรถยนต์ เป็นต้น

มีโม

ในส่วนเครื่องตัดหญ้า ทางบริษัทได้เริ่มจำหน่ายหุ่นยนต์ตัดหญ้ารุ่น “มีโม” ในยุโรปเมื่อปีค.ศ. 2012 ซึ่งเป็นเครื่องตัดหญ้าอัตโนมัติสมบูรณ์แบบ สามารถตัดหญ้าให้ได้ระดับความสูงตามที่ต้องการ พร้อมกับชาร์จไฟฟ้าได้ด้วยตัวเอง กันน้ำและไม่มีเสียงรบกวน พร้อมฟังก์ชันความปลอดภัย เช่น ระบบหยุดฉุกเฉิน สามารถตัดหญ้าได้อย่างอุ่นใจทุกวัน “มีโม” จัดเป็นผลิตภัณฑ์กลุ่ม Power product ของ Honda ที่เหมาะกับการใช้งานในอนาคต ซึ่งมาพร้อมกับการทำงานด้วยไฟฟ้าและควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เครื่องยนต์ทุ่นแรงสำหรับจักรยานที่ถูกพัฒนาขึ้นในยุคที่ขาดแคลนทุกสิ่ง กลายมาเป็นผลิตภัณฑ์ Power product ของ Honda ซึ่งเริ่มจากเครื่องยนต์ “รุ่น H” เพื่อให้ใช้งานได้ง่ายกว่าปัจจุบัน และเป็นผลิตภัณฑ์สมรรถนะสูงยิ่งกว่าเดิม เราได้ใช้เทคโนโลยีและไอเดียอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างวิวัฒนาการมาโดยตลอด

ส่งผลให้ ทั่วโลกชื่นชมต่อ Honda ว่าเป็นผลิตภัณฑืที่ใช้งานง่าย มีสมรรถภาพสูง และไม่เสียหาย

ทั้งหมดนั้นมาจากความตั้งใจของเราที่ต้องการให้ “เทคโนโลยีสร้างความสุขให้ผู้คน” ซึ่งสืบต่อเนื่องมาไม่เคยขาดสาย เป็นความมุ่งมั่นที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง และขวนขวายสร้างโอกาสใหม่ให้เกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์ Power product ของ Honda ต่อไป